ตัวอย่างการเขียนกระทู้ธรรมศึกษาตรี


วิชากระทู้ธรรมศึกษา ชั้นตรี

ขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ขั้นตอนก่อนลงมือเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

๑. ต้องท่องจำพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑  ให้ได้ และเขียนให้ถูกต้องอย่างน้อย ๒ สุภาษิต   พร้อมทั้งที่มาของสุภาษิตบทนั้นด้วยเพื่อนำไปเป็นสุภาษิตเชื่อม (เวลาสอบใช้สุภาษิตเดียว) 

๒. เมื่อท่องจำสุภาษิตได้แล้ว  พึงฝึกหัดแต่งสุภาษิตนั้น สัก ๒-๓ ครั้ง  ประมาณ ๑ หน้ากระดาษ จนเกิดความชำนาญ เมื่อนำไปเชื่อมในการสอบจริงจะได้ง่ายขึ้น            
    
ขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
          
           ขั้นตอนที่ ๑ การเขียนสุภาษิตกระทู้ตั้ง  ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษสอบให้พอดี  โดยเฉพาะคำบาลีนั้นต้องเขียนให้ถูกอักขระ  ในส่วนคำแปลนั้น  พึงเขียนจัดวางให้ได้กึ่งกลางของคำบาลี  อย่าให้ล้นไปข้างหน้า  หรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งามต้องพยายามกะให้พอดี
        
          ขั้นตอนที่ ๒ การเขียนอารัมภบท  คือ ณ  บัดนี้ ….ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ประมาณ ๖ ตัวอักษร
         ขั้นตอนที่ ๓ ก่อนอธิบายเนื้อความให้ย่อหน้ากระดาษขึ้นบรรทัดใหม่เช่นเดียวกับอารัมภบท
         ขั้นตอนที่ ๔  การเขียนสุภาษิตเชื่อม  ให้เขียนตรงกลางหน้ากระดาษเหมือนสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ)  แต่ก่อนที่จะยกสุภาษิตที่เราท่องไว้แล้วมาเชื่อม  ต้องอ้างที่มาของสุภาษิตเสียก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน ……. ( ที่มาของสุภาษิตบทนั้น ) แล้วจึงวางสุภาษิตไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ
         ขั้นตอนที่ ๕ ก่อนจะอธิบายเนื้อความของสุภาษิตเชื่อม  ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เหมือนขั้นตอนที่ ๒
         ขั้นตอนที่  ๖  การสรุปความให้ย่อหน้า  เขียนคำว่า สรุปความว่า ……. การสรุปนั้นควรสรุปประมาณ ๕ – ๖ บรรทัด จึงจะพอดี   เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ให้นำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนปิดท้าย
         ขั้นตอนที่ ๗ การเขียนสุภาษิตปิดท้าย  ให้เขียนคำว่า สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า…..แล้วนำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษปิดท้าย
         ขั้นตอนที่ ๘  บรรทัดสุดท้ายนิยมเติมคำว่า มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ หรือ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้” มาปิดท้าย 
         ส่วนการย่อหน้าและจัดวรรคตอนนอกจากนี้  ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม  การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ต้องฝึกเขียนให้ได้ ๔ – ๕ ครั้งขึ้นไป แต่ละครั้งที่ฝึกเขียน พึงดูแผนการเขียนและตัวอย่างการเรียงความแก้กระทู้ธรรมประกอบด้วยว่าถูกต้องหรือไม่.

หลักปฏิบัติในการสอบสนามหลวง วิชา กระทู้ธรรม
         
          ๑.  แต่งตามกระทู้ธรรมสุภาษิตที่กำหนดให้
๒.  อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตนั้นให้สมเหตุสมผล
๓.  อ้างสุภาษิตบทอื่นพร้อมบอกที่มา  มาอธิบายประกอบด้วย ๑ สุภาษิตในหนังสือพุทธสุภาษิต เล่ม ๑    
๔. เชื่อมความระหว่างสุภาษิตที่นำมาเชื่อมกับสุภาษิตบทตั้งให้สนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล
๕. ให้เขียนลงในกระดาษสอบ  ตั้งแต่  ๒  หน้า ( เว้นบรรทัด ) ขึ้นไป

ระเบียบการตรวจกระทู้ธรรมสนามหลวง

คณะกรรมการได้กำหนดแนวทางในการตรวจกระทู้ธรรม  และพิจารณาให้คะแนนดังนี้

         ๑.แต่งได้ครบตามกำหนด ( ตั้งแต่ ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป )
         ๒.อ้างสุภาษิตเชื่อมได้ตามกฎ ( ๑ สุภาษิต )
         ๓.เชื่อมความกระทู้ได้ดี
         ๔.อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้
         ๕.ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
         ๖.ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามหลักภาษา
          ๗.สะอาดไม่เปรอะเปื้อน ฯ

พุทธศาสนสุภาษิตสำหรับท่องจำ  (ควรฝึกเขียนให้ถูกต้องด้วย)

อปฺปมาโท  อมตํ  ปทํ

ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย
ที่มา ขุททกนิกาย  ธรรมบท

ความไม่ประมาท คือ ความหลงมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เมาในวัยและชีวิต บุคคลที่มัวเมาเหล่านี้ ก็มีชื่ออยู่สักแต่ว่าหายใจเข้าออกเท่านั้น  หาทำประโยชน์สิ่งใดไม่ บุคคลที่พึงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมคือ เมื่อจะทำ พูด คิด ต้องทำด้วยความระมัดระวัง มีสติอยู่เสมอ ความไม่ประมาทนั้น ย่อมเป็นหนทางให้ประสบความสุข ความเจริญ และความไม่เสื่อมเสีย.

ขนฺติ  หิตสุขาวหา

ความอดทน  นำมาซึ่งประโยชน์สุข
ที่มา สวดมนต์ฉบับหลวง

ความอดทน คืออาการที่ไม่หวั่นไหวทั้งทางกายและทางจิตใจ  ในเมื่อประสบกับสภาพที่ไม่น่าชอบใจ ๔ ประเภท คือ ๑. ธรรมชาติ มีหนาว ร้อน ฝนตก แดดออก เป็นต้น   ๒. อดทนต่อความเหนื่อยยากตรากตรำในการทำงาน     ๓. อดทนต่อทุกขเวทนา อันเกิดจากความเจ็บปวดและโรคภัย  ๔. อดทนต่อความเจ็บใจ         ความอดทนนี้ย่อมอำนวยผลให้ผู้ประกอบได้พบกับความสุข ความเจริญ และความสำเร็จ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม.

จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ

จิตที่ฝึกดีแล้ว  นำสุขมาให้
ที่มา  ขุททกนิกาย  ธรรมบท

จิตที่ฝึกแล้ว หมายถึงจิตที่ถูกทำให้หมดมลทิน คือความโลภ โกรธ หลง ที่รวมเรียกว่า กิเลส ไม่ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง  ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ  รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจ เป็นจิตที่สุขุมเยือกเย็น จิตที่ฝึกมาแล้วจะนำความสุขมาให้อย่างถาวร เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาจึงหมั่นฝึกจิตของตน









แผนการเขียนเรียงความกระทู้ธรรม

 (๑)                        ..................สุภาษิตบทตั้ง.....................
                               ....................คำแปล......................
(๒)                 บัดนี้...................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
(๓)   คำว่า.............อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง (ประมาณ 8-10บรรทัด).... .........
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
.......................................สมดังสุภาษิตที่มาใน......( ที่มาของสุภาษิต).......ว่า
(๔)                 ......................สุภาษิตเชื่อม ......................
                         ... ...................คำแปล..........................
(๕)          คำว่า............. อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง (ประมาณ 7-10 บรรทัด)
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
(๖)            สรุปความว่า (ประมาณ 5 บรรทัด) ..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
      ............................................สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
(๗)
......................สุภาษิตบทตั้ง.........................
........................คำแปล.............................
ดังนัยพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ (๘)


ตัวอย่างข้อสอบเก่า
สอบเมื่อ วันที่  ๑๕ เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๖
สีลํ โลเก  อนุตฺตรํ
ศีล เป็นเยี่ยมในโลก
        ณ บัดนี้จักได้บรรยายขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้     เบื้องต้น  พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
                คำว่า  ศีล ” คือ การรักษากาย  วาจาให้เรียบร้อย  เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของมนุษย์  ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์นั้น  ผู้นั้นอย่างน้อยต้องมีศีล ๕ มีการไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์  ไม่ประพฤติผิดในกาม  ไม่พูดปด  และไม่ดื่มสุราเสพยาเสพย์ติด  ศีลชื่อว่าเป็นเยี่ยมในโลก  เพราะเป็นเครื่องปกป้องโลกให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข  ศีลเป็นเครื่องขจัดความเบียดเบียนระหว่างตนกับผู้อื่นให้หมดไป  ก่อให้เกิดความรักความเมตตาให้เกิดขึ้นในโลก ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสอย่างหยาบให้หมดไป เป็นขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นของการทำดี  ผู้ประพฤติให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ย่อมจะประสบแต่ความสุข  ศีลเป็นความดี  มีผลเป็นความสุข ผู้รักษาศีลย่อมได้ผลคือความสุข  ตราบเท่าที่เขารักษาศีลอยู่  สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย  ธรรมบทว่า
สุขํ  ยาว  ชรา  สีลํ
ศีล
  นำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
        ผู้ที่ปรารถนาความสุข  ไม่พึงละทิ้งการรักษาศีล  เพราะศีลเป็นบ่อเกิด เป็นบทเริ่มต้นของการสร้างความดีความงามให้เกิดมีขึ้นในจิตใจด้วยการฝึกควบคุมพฤติกรรมทางด้าน กาย วาจาให้เรียบร้อยอยู่เสมอ นอกจากนี้ศีลยังเป็นเหตุนำสุขมาให้  เหมือนดังเช่น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งศีลอันบริสุทธิ์ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์จึงมีแต่ความสุขเกษมสำราญ  เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงไม่ควรมองข้าม หันมารักษาศีลกันเถิด  เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและโลก
       สรุปความว่า ศีล คือการรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย  เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคนให้อยู่ระเบียบแบบแผนที่ดีงามของสังคม เป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่จะทำให้คนเป็น มนุษย์  คือ ผู้ประเสริฐ  ผู้รักษาศีลย่อมปราศจากศัตรูที่คอยเบียดเบียน  อยู่สงบร่มเย็นเป็นสุข  ดังนั้นศีลจึงเป็นความดีที่ยอดเยี่ยมในโลก    สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็น  นิกเขปบท  ณ  เบื้องต้นว่า
สีลํ  โลเก  อนุตฺตรํ
ศีล เป็นเยี่ยมในโลก.
ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ

ทำไมคนไทยต้องเรียนพระพุทธศาสนา

คำถามดังกล่าวมีเหตุผลเบื้องลึกอย่างที่พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์  ปยุตฺโต) ได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง ?ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ? ว่า พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยมีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย และวัฒนธรรมไทย
ใน ทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยก่อนที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติของประเทศไทย เป็นประวัติของ       ชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา
ใน ด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อและหลักปฏิบัติใน พระพุทธศาสนา ตลอดเวลายาวนาน วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทย เป็นแหล่งคำสั่งสอนการฝึกอบรม กิจกรรมใหญ่ที่มีความสำคัญของรัฐก็ดี ของชุมชนก็ดี จะมีส่วนประกอบด้วยพระพุทธศาสนาเป็นพิธีการ  เพื่อเน้นย้ำความสำคัญและเสริมคุณค่าทางจิตใจ
สภาพ ที่กล่าวมานี้ ได้เป็นมาช้านาน จนฝังลึกในจิตใจและวิถีชีวิตของชาวไทย กลายเป็นเครื่องหล่อหลอมกลั่นกรองนิสัยใจคอพื้นฐานจิตใจของคนไทยให้มีลักษณะ เฉพาะตนที่เรียกว่า     เอกลักษณ์ของสังคมไทย  ทำให้พูดได้อย่างถูกต้องมั่นใจว่า  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เมื่อชาวไทยทั่วประเทศได้ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ตรัสต่อ   พระ สันตปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ มีความจำเพาะตอนนี้ว่า ?คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ?
หลังจากได้ความมั่นใจดุจเป็นพระราชวินิจฉัย จากพระราชดำรัสครั้งนี้แล้ว บุคคลและ  องค์การต่าง ๆ ก็พากันมีความกล้าหาญที่จะพูด หรือเขียนให้ชัดแจ้งออกมาว่า ?พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ?
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชนิพนธ์ไว้ในเทศนาเสือป่าว่า ??เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้  ต้องรักษาพระศาสนาอันนี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป ต้องรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลาย?
ข้าพเจ้า รู้สึกว่าได้ทำหน้าที่สมควรแก่ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เราตั้งใจจะรักษาศาสนาของเราด้วยชีวิต ข้าพเจ้าและท่านตั้งใจอยู่ในข้อนี้ และถ้าท่านตั้งใจจะช่วยข้าพเจ้าในกิจกรรม         อันใหญ่นี้แล้วก็จะเป็นที่พอใจข้าพเจ้าเป็นอันมาก?
เมือง เราเกือบจะเป็นเมืองเดียวแล้วในโลกที่ได้มีบุคคลนับถือพระพุทธศาสนามากเป็น เหล่าเดียวกัน เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่จะช่วยกันบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา อย่าให้เสื่อมสูญไป เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการ?
พระธรรมปิฎก ได้วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับสังคมไทยไว้ในหนังสือเรื่อง  ?ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย? ว่า ?ในทางการศึกษา เมื่อมองโดยภาพรวม พระพุทธศาสนา จัดเป็นวิชาสำหรับการเรียนรู้ โดยสถานะหลัก คือ ในฐานะที่เป็นระบบจริยธรรมสำหรับประชาชนส่วนใหญ่หรือเป็นแหล่งคำสอนของประชากรแทบทั้งหมดของประเทศ ทั้ง ในด้านวัตถุธรรม และในด้านนามธรรม ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมมากที่สุดอย่างหนึ่งในวิถีชีวิตของสังคม เป็นมาตรฐานการดำเนินชีวิต สำหรับผู้นับถือและเป็นสภาพแวดล้อมอันกว้างใหญ่ทางสังคมสำหรับผู้ที่ได้ นับถือ?
เหตุผลที่คนไทยต้องเรียนรู้พระพุทธศาสนา  มีดังนี้
. พระพุทธศาสนาเป็นจริยศึกษา เพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา ให้คนไทยรู้จักเก็บรวบรวม ศึกษา และเลือกใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งหลายเกี่ยวกับการสร้างเสริมความเจริญอย่าง เพียงพอ ยิ่งกว่านั้น สภาพความเจริญที่รออยู่ข้างหน้าในวิถีทางของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างที่ทำ กันอยู่ทุกวันนี้  ก็ยิ่งทำให้มีความต้องการจริยธรรม
. พระพุทธศาสนาเป็นระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย แม้ว่าปัจจุบันในระดับพื้นผิว จะมองเห็นว่า ผู้คนห่างเหินจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แต่ระบบ      ศีลธรรม ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็ยังสืบต่ออยู่อย่างแน่นหนาในรากฐานทางวัฒนธรรม ของไทย การสอนจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา หรือการนำพระพุทธศาสนามาใช้ในการสอนจริยศึกษา เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกลมกลืนกับรากฐานทางวัฒนธรรม และพื้นเพทางจิตใจของคนไทย เป็นจริยธรรมที่กลมกลืนบนพื้นฐานที่ต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้พร้อมที่จะทำงานได้ง่าย ฉับไว และเบาแรงกว่าการกระทำด้วยวิธีอย่างอื่น จึงไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการสอนพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ในทางจริยธรรม
. ชาวพุทธควรมีสิทธิเรียนจริยศึกษาแบบพุทธ การปลูกฝังจริยธรรมต้องดำเนินไปอย่างมีกระบวนการและเป็นระบบ โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์แห่งสัจธรรมที่รองรับเป็นพื้นฐาน การที่สังคมไทยยอมรับพระพุทธศาสนา และนับถือสืบต่อกันมา ก็เพราะมีความเชื่อในพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าว่าได้ทรงค้นพบสัจธรรม และทรงสั่งสอนระบบจริยธรรมที่ถูกต้องจริงแท้ตรงตามสัจธรรมนั้น จึงเห็นชอบและพอใจที่จะนำเอาหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม หรือระบบการปลูกฝัง          จริยธรรมของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นระบบชีวิตทางศีลธรรมของตน
พูดอีกนัยหนึ่งว่า ชาวพุทธนับถือพระพุทธศาสนาก็คือเชื่อในระบบจริยศึกษาแบบพุทธ     ชาว พุทธจึงควรและมีสิทธิที่จะเรียนจริยธรรม ด้วยจริยศึกษาแบบพุทธ การปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนี้คือช่วยกันค้นหาให้พบ และจัดจริยศึกษาแบบพุทธให้แก่ผู้เรียนที่เป็นพุทธศาสนิกชน
. สังคมไทยมีข้อได้เปรียบในการจัดจริยศึกษาที่มีเอกภาพ สังคมไทยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน แม้จะมีความแตกต่างหลากหลาย ก็เป็นความแตกต่างในระดับของพัฒนาการทางจิตปัญญา ส่วนหลักความเชื่อและหลักคำสอนทั่วไปคงเป็นตัวแบบเดียวกัน จึงน่าจะใช้ความได้เปรียบคือความมีเอกภาพทางศาสนานี้ให้เป็นประโยชน์
. สังคมไทยไม่มีเหตุผลที่จะไม่สอนจริยศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา เนื่องจากพุทธศาสนาในประเทศไทยมีเอกภาพมาก ถึงขั้นที่อาจพูดได้ว่ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
. การเรียนพระพุทธศาสนาเพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย การศึกษาพระพุทธศาสนาก็คือการเรียนรู้สิ่งที่คนที่อยู่ในสังคมไทยควรจะต้อง รู้ ในฐานะที่เป็นการรู้จักเรื่องราวของประเทศของตน เป็นความรับผิดชอบของการศึกษาที่จะต้องจัดให้คนไทยได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ถ้าคนไทยไม่รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งในด้านเนื้อหาและสถาบันก็คงต้องถือว่า เป็นความบกพร่องของการศึกษาของชาติ
. การศึกษาเพื่อสร้างชนชั้นสำหรับมาพัฒนาสังคมไทย ความ ล้มเหลวด้านหนึ่งของการศึกษาในสังคมไทย คือ การที่ไม่สามารถสร้างผู้นำและชนชั้นในด้านวิชาการและระบบแบบแผนสมัยใหม่ ที่เป็นความเจริญอย่างตะวันตกนั้น เป็นที่แน่นอนชัดเจนว่า การศึกษาของชาติได้ผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถ เก่งกว่าชาวบ้านหรือประชาชนไปอย่างมากมาย ทำให้เรามีความพร้อมในด้านหนึ่งที่จะพัฒนาสังคม
แต่นั่นเป็นเพียงด้านหนึ่ง ซึ่งหาเพียงพอไม่ เพราะในขณะเดียวกันนั้นเองก็เป็นที่แน่นอน   ชัดเจน เช่นเดียวกันว่าการศึกษาของเราได้ผลิตคนที่ห่างเหินแปลกแยกจากสังคมไทย ไม่รู้จักสังคมไทย ไม่รู้เรื่องราวของคนไทย ไม่เข้าใจความคิดจิตใจของชาวบ้านที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของไทย
คนที่เป็นผลผลิตของการศึกษาอย่างนั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วมาดำเนินชีวิตร่วมใน       ชุมชนไทย และทำงานให้แก่สังคมไทยท่ามกลางคนไทย เขาต้องการรู้เรื่องของไทย เช่น วัฒนธรรมไทยและพระพุทธศาสนาตามคติไทยต่อจากชาวบ้าน
การศึกษาจะต้องกล้าเผชิญหน้าความจริง ถ้าพระพุทธศาสนาเป็นองค์ประกอบสำคัญ อยู่ในกระบวนการสืบทอดต่อเนื่องของสังคมไทย ไม่ว่าโดยฐานะที่เป็นสถาบันสังคมอันกว้างใหญ่ก็ดี โดยเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยก็ดี โดยเป็นสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมสังคมไทยก็ดี โดยเป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยก็ดี โดยเป็นระบบจริยธรรมที่สังคมไทยได้ยอมรับนับถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานกันมาก็ดี การศึกษาจะต้องจัดดำเนินการให้คนไทยได้ศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในแง่ที่เป็น องค์ความรู้และในแง่ที่เป็นเครื่องมือพัฒนาชีวิตและสังคม
. การศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมไทย พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งต่างจากศาสนาทั่วไป จนบางทีผู้ที่มองความหมายในแง่ของศาสนาอื่น ๆ ถือว่าพระพุทธศาสนาไม่เป็นศาสนาหรือมิฉะนั้นก็เป็นศาสนาแห่งปัญญา เพราะไม่บังคับศรัทธา แต่ถือปัญญาเป็นสำคัญ กล่าวคือ ให้เสรีภาพทางความคิด ไม่เรียกร้องและไม่บังคับความเชื่อ ไม่กำหนดข้อปฏิบัติที่บังคับแก่ศาสนิกชนแต่ให้พิจารณาเลือกตัดสินใจด้วยตน เอง
การ ปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงต้องอาศัยการศึกษา เพราะในเมื่อไม่กำหนดข้อบังคับให้มีสิ่งที่ต้องเชื่อ และต้องปฏิบัติอย่างตายตัวแล้ว ถ้าไม่ศึกษาให้รู้เข้าใจอย่างถูกต้อง แท้จริงก็มีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดความเคลื่อนคลาดผิดเพี้ยนในความเชื่อและ การปฏิบัติ  เมื่อเชื่อผิดพลาดและปฏิบัติคลาดเคลื่อนไป  นอกจากจะเป็นผลเสียหายในทางศาสนาแล้ว ก็ทำให้เกิดโทษแก่ชีวิตและสังคมไทยไปด้วย
ด้วย เหตุนี้ การศึกษาหรือสิกขาจึงเป็นเนื้อตัวของชีวิตในทางพระพุทธศาสนาที่จะทำให้ระบบ จริยธรรมดำเนินไปได้ ผู้นำหรือผู้บริหารกิจการพระพุทธศาสนาจึงต้องเอาใจใส่ ถือเป็นหน้าที่หลักสำคัญที่สุดที่จะต้องเอื้ออำนวยจัดให้มีการศึกษาแก่พุทธ บริษัททั้งปวง
ด้วย เหตุที่พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญาและความเชื่อถือปฏิบัติที่ถูกต้องขึ้นต่อการศึกษาเช่นนี้ ไม่ว่าสถาบันพุทธศาสนาจะเอาใจใส่จัดการศึกษาให้แก่ศาสนิกชนของตนหรือไม่ก็ ตาม ในกรณีที่พลเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา รัฐที่เป็นประชาธิปไตย และมีความรับผิดชอบต่อประโยชน์สุขของประชาชน และต่อความเสื่อมความเจริญของสังคม จะต้องเอาใจใส่ขวนขวายเอื้ออำนวยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชนให้ ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะว่าความเป็นพุทธศาสนิกชนของประชากรส่วนใหญ่เหล่านั้นอยู่ในตัว บุคคลผู้เดียวกันกับที่เป็นพลเมืองของประเทศไทยอย่างแยกจากกันไม่ ออก{mospagebreak}
. ข่าวร้ายต่าง ๆ ในวงการพุทธศาสนาของไทย เป็นเครื่องสะท้อนสภาพเสื่อมโทรมทั้งของสถาบันพุทธศาสนา และสังคมไทย สภาพ ตกต่ำเสื่อมโทรมทั้งทางภูมิธรรม และภูมิปัญญา น่าจะเพียงพอแล้วที่จะกระตุ้นเตือนปลุกเร้าผู้บริหาร ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายศาสนา บุคคลผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดถึงคนไทยทุกคนให้เกิดความสำนึกตื่นตัวขึ้นมาเร่งรีบแก้ไขปัญหา ด้วยการจัดและ      ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในแง่การเรียนรู้กับเนื้อหาและหลักคำสอนที่ถูกต้องแท้จริง
๑๐. บูรณาการสำคัญขั้นตอนที่ขาดหายไป จริยศึกษาของรัฐใน ๒ - ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีแนวโน้มที่จะหันเหไปในทิศทางของจริยธรรมสากล ประจวบกับในช่วงหลังนี้ แนวความคิดแบบบูรณาการได้เฟื่องฟูขึ้น ก็มิได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมสากลนั้นมาประสานเข้ากับแนวคิดแบบ บูรณาการ โดยให้บูรณาการการสอนจริยธรรมเข้าในวิชาต่าง ๆ ทุกวิชา หรือให้ครูแต่ละคนสอนจริยธรรมบูรณาการเข้าในวิชาของตน สอดคล้องกับหลักอุดมคติที่ถือว่าครูทุกคนเป็นผู้สอน     จริยธรรม
การ บูรณาการด้วยการสอนจริยธรรมเข้าในวิชาทุกวิชานั้น เป็นเพียงแง่หนึ่งด้านหนึ่งของบูรณาการ เป็นการบูรณาการในขอบเขตที่แคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น
การบูรณาการสำคัญขั้นตอนใหญ่ที่ขาดหายไป คือ
(๑)                การ บูรณาการองค์จริยธรรมเข้าในระบบจริยธรรม หมายถึง การบูรณาการจริยธรรมเฉพาะอย่างเข้าในระบบจริยธรรมที่เป็นองค์รวม หรือการบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมเข้าในชีวิตจริง
(๒) การบูรณาการตนเข้าในชุมชนหรือบูรณาการบุคคลเข้าในสังคม ที่สำคัญมาก คือ การบูรณาการคนรุ่นใหม่เข้าในสังคมไทย  และในปัจจุบันการที่มีปัญหานี้มากขึ้นแม้ว่าปัญหาจะไม่ออกมาในรูปที่รุนแรง
(๓)  การบูรณาการสถาบันศาสนาเข้าในระบบจริยศึกษาของชุมชน
๑๑. จากคติแห่งศาสนศึกษาในอังกฤษสู่ความคิดหาทางสายกลางของการจัดจริยศึกษา ใน สหรัฐอเมริกา รัฐแยกอาณาจักรกับศาสนจักรขาดออกจากกัน และไม่ให้มีการสอนจริยธรรมตามหลักศาสนานิกายใดนิกายหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ให้สอนจริยธรรมที่เป็นกลาง ๆ ประเทศอังกฤษซึ่งถือกันว่าเป็นแม่แบบแห่งระบอบประชาธิปไตยนับถือศาสนาคริสต์ นิกายอังกฤษหรือแองกลิคาน (Church of England) เป็นศาสนาประจำชาติ และตรากฎหมายบังคับให้โรงเรียนต้องจัดสอนวิชาศาสนา ให้นักเรียนต้องได้เรียนวิชาศาสนาคริสต์ทั่วทุกคน
อาจ พูดสั้น ๆ ว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา วิชาบังคับที่แท้มีวิชาเดียว คือวิชาการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศอังกฤษ วิชาบังคับแท้จริงมีวิชาเดียว คือ วิชาศาสนาคริสต์
ในประเทศอังกฤษ พระราชบัญญัติการศึกษา ค..๑๙๔๔ (..๒๔๘๗) กำหนดให้การเรียนวิชาศาสนา เป็นการศึกษาบังคับสำหรับนักเรียนทุกคน จนกระทั่ง พ..๒๕๓๑ รัฐได้ออกกฎหมายใหม่ เรียกว่าพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษา ค..๑๙๘๘ กฎหมายใหม่นี้ได้กำหนดหลักสูตรพื้นฐานขึ้นมา (Basic Curriculum) โดยจัดแยกเป็น ๒ ส่วน คือ การศึกษาวิชาศาสนา (Religious Education) ที่มีมาแต่เก่าก่อนนั้นส่วนหนึ่ง กับส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่เรียกว่า หลักสูตรแห่งชาติ (National Curriculum) ซึ่งประกอบด้วยวิชาสามัญต่าง ๆ
มี ข้อแตกต่างที่ควรสังเกตก็คือวิชาทั้งหลายในส่วนที่สองที่เรียกว่าหลักสูตร แห่งชาตินั้น บังคับเฉพาะเด็กนักเรียนที่มีอายุในเกณฑ์บังคับเท่านั้น แต่วิชาศาสนาซึ่งเป็นส่วนแรก เป็นวิชาบังคับสำหรับนักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีอายุอยู่ในเกณฑ์บังคับหรือไม่ และในส่วนของวิชาศาสนานี้ กฎหมายใหม่ได้สำทับให้การเล่าเรียน และการปฏิบัติศาสนาคริสต์เป็นไปอย่างหนักแน่นมากขึ้น ในขณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเรียนศาสนาอื่นได้ด้วย
การศึกษาวิชาศาสนาตามกฎหมายปัจจุบันของอังกฤษ มีข้อสังเกตที่สำคัญอย่างอื่นอีก คือ
-         การศึกษาวิชาศาสนาถือเป็นเรื่องสำคัญถึงกับกำหนดบังคับไว้ในกฎหมายของรัฐ
-         การศึกษาวิชาศาสนามีฐานะพิเศษ ถึงกับแยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากหลักสูตรวิชาสามัญทั่วไป โดยมีความสำคัญของตัวเองอย่างเป็นอิสระ
-         การศึกษาวิชาศาสนานี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน  คือการศึกษาวิชาศาสนา  กับการประชุมประกอบพิธีบูชาประจำวัน (การสวดมนต์ไหว้พระ) และกำหนดไว้ด้วยว่า  หลักสูตรจะต้องสะท้อนให้เห็นความจริงว่า  ศาสนาที่สืบ ๆ มาในประเทศอังกฤษมีศาสนาคริสต์เป็นหลัก  และการประกอบพิธีบูชา  จะต้องเป็นไปตามแบบของศาสนาคริสต์ทั้งหมด
-         ครูที่สอนวิชาศาสนา  และครูที่นำพิธีประชุมสวดมนต์บูชานั้น  ทางการให้ความสำคัญมาก  ถึงกับกำหนดไว้ในกฎหมายว่าจะต้องใช้ครูที่มีคุณวุฒิโดยตรง?
-         กฎหมายกำหนดให้ถือว่า  การฝึกอบรมวิชาศาสนานั้น เป็นคุณกิจสำคัญระดับแรกสุดของชาติ (a national priority) อย่างหนึ่ง  กำหนดให้มีการฝึกอบรมครูที่ชำนาญเฉพาะ
-         นอกจากวิชาศาสนาโดยตรงนี้ แล้วเนื้อหาที่ต้องเรียนเกี่ยวกับศาสนายังอาจปรากฏ
ในวิชาอื่น ๆ ตามแต่จะเกี่ยวข้องอีกด้วย
๑๒.  ทางสายกลาง  หรือการกระทำพอดี ๆ ก็คือ  การให้ได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้  ให้ได้คิดในสิ่งที่ควรคิด  แต่ให้รู้จักนำเสนอในลักษณะที่น่าสนใจท้าทาย  และรู้จักกระตุ้นเร้าให้เกิดความ           สนใจ  ชักนำให้รู้จักเรียนรู้  รู้จักคิดพิจารณาเพื่อจะตัดสินใจเลือกได้ด้วยปัญญาที่มีสติสุขุมรอบคอบ  มองเห็นเหตุผล  และคุณโทษ  ได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาข้อมูลและฝึกฝนความรู้จักคิด  พร้อมทั้งพัฒนาชีวิตเคียงกันไปทุกด้าน  ให้การเรียนเป็นกิจกรรมร่วมกันที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนทั้งสองฝ่ายร่วมมือประสานงาน  มีบทบาทแสดงต่อกัน
๑๓.  เรื่องสำคัญของตนเองที่ควรจะต้องรู้  สิ่งดีที่ตนมีพิเศษ  อีกด้านหนึ่งของ            การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ควรพูดไว้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก  คือ การศึกษาพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นความรู้ หรือเป็นเรื่องของวิชาการ และการศึกษาพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งแห่งอารยธรรม ของมนุษยชาติ
มอง ในแง่เป็นภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ตนมีต่างหากจากของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้สังคมไทยมีอะไรที่จะให้แก่อารยธรรมของมนุษยชาติ และที่จะทำให้สามารถเป็นผู้นำเขาบ้างสักด้านหนึ่งใน            ประชาคมโลก แทนที่จะเป็นผู้คอยตามและรับจากเขาร่ำไปก็ดี
ที่กล่าวมานั้น ก็พอเพียงที่จะเป็นเหตุผลให้คนไทยควรจะต้องเรียนรู้พระพุทธศาสนา
๑๔.  หลักการที่ควรตรวจสอบและปฏิบัติการที่ควรทบทวน   เรื่องจริยศึกษานี้ ประเทศไทยมีภูมิหลังที่เรียบร้อยราบรื่น และมีฐานทางหลักการที่เอื้อ มั่นคง และพร้อมดีกว่า สามารถจะเป็น      ผู้ นำได้ อีกทั้งในวงกว้าง ก็เป็นที่ยอมรับกันมากว่า โลกซีกตะวันออกนี้ มีความเจริญทางวัฒนธรรมด้านจิตใจดีกว่าโลกตะวันตก สังคมไทยจึงควรจะตื่นตัว ปลุกจิตสำนึกในความเป็นผู้นำและผู้ให้ขึ้นมา อย่างน้อยที่ควรจะรักษาความเป็นผู้นำด้านจริยศึกษา และการพัฒนาจิตใจไว้ให้ได้
 
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
รัฐควรจัดหลักสูตรการศึกษาให้คนไทยส่วนใหญ่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลสำคัญ    ประการ  คือ
.  คนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ความเข้าใจ  และปฏิบัติถูกต้องต่อศาสนาที่ตนนับถือ
.  คนทุกคนที่อยู่ในสังคมไทย  ควรเรียนรู้พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย  เป็นสถาบันใหญ่  และเป็นสภาพแวดล้อมของสังคมไทย  เพื่อดำเนินชีวิตและทำงานหรือทำหน้าที่ที่เป็นส่วนรวมในการพัฒนาสังคมไทยนั้นอย่างประสานกลมกลืน  และได้ผลดี
              ๓.  สังคมไทยอาศัยพระพุทธศาสนา  เป็นแหล่งคำสอนจริยธรรม  และได้ยอมรับระบบ   จริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา  เป็นมาตรฐานที่ยึดถือปฏิบัติตามตลอด  คนไทยจึงควรเรียนรู้     พุทธจริยธรรม  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาชีวิตพัฒนาสังคมให้บรรลุประโยชน์และสันติสุข