ทำไมคนไทยต้องเรียนพระพุทธศาสนา

คำถามดังกล่าวมีเหตุผลเบื้องลึกอย่างที่พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์  ปยุตฺโต) ได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง ?ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ? ว่า พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยมีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย และวัฒนธรรมไทย
ใน ทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยก่อนที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติของประเทศไทย เป็นประวัติของ       ชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา
ใน ด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อและหลักปฏิบัติใน พระพุทธศาสนา ตลอดเวลายาวนาน วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทย เป็นแหล่งคำสั่งสอนการฝึกอบรม กิจกรรมใหญ่ที่มีความสำคัญของรัฐก็ดี ของชุมชนก็ดี จะมีส่วนประกอบด้วยพระพุทธศาสนาเป็นพิธีการ  เพื่อเน้นย้ำความสำคัญและเสริมคุณค่าทางจิตใจ
สภาพ ที่กล่าวมานี้ ได้เป็นมาช้านาน จนฝังลึกในจิตใจและวิถีชีวิตของชาวไทย กลายเป็นเครื่องหล่อหลอมกลั่นกรองนิสัยใจคอพื้นฐานจิตใจของคนไทยให้มีลักษณะ เฉพาะตนที่เรียกว่า     เอกลักษณ์ของสังคมไทย  ทำให้พูดได้อย่างถูกต้องมั่นใจว่า  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เมื่อชาวไทยทั่วประเทศได้ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ตรัสต่อ   พระ สันตปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ มีความจำเพาะตอนนี้ว่า ?คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ?
หลังจากได้ความมั่นใจดุจเป็นพระราชวินิจฉัย จากพระราชดำรัสครั้งนี้แล้ว บุคคลและ  องค์การต่าง ๆ ก็พากันมีความกล้าหาญที่จะพูด หรือเขียนให้ชัดแจ้งออกมาว่า ?พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ?
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชนิพนธ์ไว้ในเทศนาเสือป่าว่า ??เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้  ต้องรักษาพระศาสนาอันนี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป ต้องรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลาย?
ข้าพเจ้า รู้สึกว่าได้ทำหน้าที่สมควรแก่ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เราตั้งใจจะรักษาศาสนาของเราด้วยชีวิต ข้าพเจ้าและท่านตั้งใจอยู่ในข้อนี้ และถ้าท่านตั้งใจจะช่วยข้าพเจ้าในกิจกรรม         อันใหญ่นี้แล้วก็จะเป็นที่พอใจข้าพเจ้าเป็นอันมาก?
เมือง เราเกือบจะเป็นเมืองเดียวแล้วในโลกที่ได้มีบุคคลนับถือพระพุทธศาสนามากเป็น เหล่าเดียวกัน เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่จะช่วยกันบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา อย่าให้เสื่อมสูญไป เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการ?
พระธรรมปิฎก ได้วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับสังคมไทยไว้ในหนังสือเรื่อง  ?ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย? ว่า ?ในทางการศึกษา เมื่อมองโดยภาพรวม พระพุทธศาสนา จัดเป็นวิชาสำหรับการเรียนรู้ โดยสถานะหลัก คือ ในฐานะที่เป็นระบบจริยธรรมสำหรับประชาชนส่วนใหญ่หรือเป็นแหล่งคำสอนของประชากรแทบทั้งหมดของประเทศ ทั้ง ในด้านวัตถุธรรม และในด้านนามธรรม ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมมากที่สุดอย่างหนึ่งในวิถีชีวิตของสังคม เป็นมาตรฐานการดำเนินชีวิต สำหรับผู้นับถือและเป็นสภาพแวดล้อมอันกว้างใหญ่ทางสังคมสำหรับผู้ที่ได้ นับถือ?
เหตุผลที่คนไทยต้องเรียนรู้พระพุทธศาสนา  มีดังนี้
. พระพุทธศาสนาเป็นจริยศึกษา เพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา ให้คนไทยรู้จักเก็บรวบรวม ศึกษา และเลือกใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งหลายเกี่ยวกับการสร้างเสริมความเจริญอย่าง เพียงพอ ยิ่งกว่านั้น สภาพความเจริญที่รออยู่ข้างหน้าในวิถีทางของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างที่ทำ กันอยู่ทุกวันนี้  ก็ยิ่งทำให้มีความต้องการจริยธรรม
. พระพุทธศาสนาเป็นระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย แม้ว่าปัจจุบันในระดับพื้นผิว จะมองเห็นว่า ผู้คนห่างเหินจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แต่ระบบ      ศีลธรรม ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็ยังสืบต่ออยู่อย่างแน่นหนาในรากฐานทางวัฒนธรรม ของไทย การสอนจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา หรือการนำพระพุทธศาสนามาใช้ในการสอนจริยศึกษา เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกลมกลืนกับรากฐานทางวัฒนธรรม และพื้นเพทางจิตใจของคนไทย เป็นจริยธรรมที่กลมกลืนบนพื้นฐานที่ต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้พร้อมที่จะทำงานได้ง่าย ฉับไว และเบาแรงกว่าการกระทำด้วยวิธีอย่างอื่น จึงไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการสอนพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ในทางจริยธรรม
. ชาวพุทธควรมีสิทธิเรียนจริยศึกษาแบบพุทธ การปลูกฝังจริยธรรมต้องดำเนินไปอย่างมีกระบวนการและเป็นระบบ โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์แห่งสัจธรรมที่รองรับเป็นพื้นฐาน การที่สังคมไทยยอมรับพระพุทธศาสนา และนับถือสืบต่อกันมา ก็เพราะมีความเชื่อในพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าว่าได้ทรงค้นพบสัจธรรม และทรงสั่งสอนระบบจริยธรรมที่ถูกต้องจริงแท้ตรงตามสัจธรรมนั้น จึงเห็นชอบและพอใจที่จะนำเอาหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม หรือระบบการปลูกฝัง          จริยธรรมของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นระบบชีวิตทางศีลธรรมของตน
พูดอีกนัยหนึ่งว่า ชาวพุทธนับถือพระพุทธศาสนาก็คือเชื่อในระบบจริยศึกษาแบบพุทธ     ชาว พุทธจึงควรและมีสิทธิที่จะเรียนจริยธรรม ด้วยจริยศึกษาแบบพุทธ การปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนี้คือช่วยกันค้นหาให้พบ และจัดจริยศึกษาแบบพุทธให้แก่ผู้เรียนที่เป็นพุทธศาสนิกชน
. สังคมไทยมีข้อได้เปรียบในการจัดจริยศึกษาที่มีเอกภาพ สังคมไทยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน แม้จะมีความแตกต่างหลากหลาย ก็เป็นความแตกต่างในระดับของพัฒนาการทางจิตปัญญา ส่วนหลักความเชื่อและหลักคำสอนทั่วไปคงเป็นตัวแบบเดียวกัน จึงน่าจะใช้ความได้เปรียบคือความมีเอกภาพทางศาสนานี้ให้เป็นประโยชน์
. สังคมไทยไม่มีเหตุผลที่จะไม่สอนจริยศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา เนื่องจากพุทธศาสนาในประเทศไทยมีเอกภาพมาก ถึงขั้นที่อาจพูดได้ว่ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
. การเรียนพระพุทธศาสนาเพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย การศึกษาพระพุทธศาสนาก็คือการเรียนรู้สิ่งที่คนที่อยู่ในสังคมไทยควรจะต้อง รู้ ในฐานะที่เป็นการรู้จักเรื่องราวของประเทศของตน เป็นความรับผิดชอบของการศึกษาที่จะต้องจัดให้คนไทยได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ถ้าคนไทยไม่รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งในด้านเนื้อหาและสถาบันก็คงต้องถือว่า เป็นความบกพร่องของการศึกษาของชาติ
. การศึกษาเพื่อสร้างชนชั้นสำหรับมาพัฒนาสังคมไทย ความ ล้มเหลวด้านหนึ่งของการศึกษาในสังคมไทย คือ การที่ไม่สามารถสร้างผู้นำและชนชั้นในด้านวิชาการและระบบแบบแผนสมัยใหม่ ที่เป็นความเจริญอย่างตะวันตกนั้น เป็นที่แน่นอนชัดเจนว่า การศึกษาของชาติได้ผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถ เก่งกว่าชาวบ้านหรือประชาชนไปอย่างมากมาย ทำให้เรามีความพร้อมในด้านหนึ่งที่จะพัฒนาสังคม
แต่นั่นเป็นเพียงด้านหนึ่ง ซึ่งหาเพียงพอไม่ เพราะในขณะเดียวกันนั้นเองก็เป็นที่แน่นอน   ชัดเจน เช่นเดียวกันว่าการศึกษาของเราได้ผลิตคนที่ห่างเหินแปลกแยกจากสังคมไทย ไม่รู้จักสังคมไทย ไม่รู้เรื่องราวของคนไทย ไม่เข้าใจความคิดจิตใจของชาวบ้านที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของไทย
คนที่เป็นผลผลิตของการศึกษาอย่างนั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วมาดำเนินชีวิตร่วมใน       ชุมชนไทย และทำงานให้แก่สังคมไทยท่ามกลางคนไทย เขาต้องการรู้เรื่องของไทย เช่น วัฒนธรรมไทยและพระพุทธศาสนาตามคติไทยต่อจากชาวบ้าน
การศึกษาจะต้องกล้าเผชิญหน้าความจริง ถ้าพระพุทธศาสนาเป็นองค์ประกอบสำคัญ อยู่ในกระบวนการสืบทอดต่อเนื่องของสังคมไทย ไม่ว่าโดยฐานะที่เป็นสถาบันสังคมอันกว้างใหญ่ก็ดี โดยเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยก็ดี โดยเป็นสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมสังคมไทยก็ดี โดยเป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยก็ดี โดยเป็นระบบจริยธรรมที่สังคมไทยได้ยอมรับนับถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานกันมาก็ดี การศึกษาจะต้องจัดดำเนินการให้คนไทยได้ศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในแง่ที่เป็น องค์ความรู้และในแง่ที่เป็นเครื่องมือพัฒนาชีวิตและสังคม
. การศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมไทย พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งต่างจากศาสนาทั่วไป จนบางทีผู้ที่มองความหมายในแง่ของศาสนาอื่น ๆ ถือว่าพระพุทธศาสนาไม่เป็นศาสนาหรือมิฉะนั้นก็เป็นศาสนาแห่งปัญญา เพราะไม่บังคับศรัทธา แต่ถือปัญญาเป็นสำคัญ กล่าวคือ ให้เสรีภาพทางความคิด ไม่เรียกร้องและไม่บังคับความเชื่อ ไม่กำหนดข้อปฏิบัติที่บังคับแก่ศาสนิกชนแต่ให้พิจารณาเลือกตัดสินใจด้วยตน เอง
การ ปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงต้องอาศัยการศึกษา เพราะในเมื่อไม่กำหนดข้อบังคับให้มีสิ่งที่ต้องเชื่อ และต้องปฏิบัติอย่างตายตัวแล้ว ถ้าไม่ศึกษาให้รู้เข้าใจอย่างถูกต้อง แท้จริงก็มีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดความเคลื่อนคลาดผิดเพี้ยนในความเชื่อและ การปฏิบัติ  เมื่อเชื่อผิดพลาดและปฏิบัติคลาดเคลื่อนไป  นอกจากจะเป็นผลเสียหายในทางศาสนาแล้ว ก็ทำให้เกิดโทษแก่ชีวิตและสังคมไทยไปด้วย
ด้วย เหตุนี้ การศึกษาหรือสิกขาจึงเป็นเนื้อตัวของชีวิตในทางพระพุทธศาสนาที่จะทำให้ระบบ จริยธรรมดำเนินไปได้ ผู้นำหรือผู้บริหารกิจการพระพุทธศาสนาจึงต้องเอาใจใส่ ถือเป็นหน้าที่หลักสำคัญที่สุดที่จะต้องเอื้ออำนวยจัดให้มีการศึกษาแก่พุทธ บริษัททั้งปวง
ด้วย เหตุที่พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญาและความเชื่อถือปฏิบัติที่ถูกต้องขึ้นต่อการศึกษาเช่นนี้ ไม่ว่าสถาบันพุทธศาสนาจะเอาใจใส่จัดการศึกษาให้แก่ศาสนิกชนของตนหรือไม่ก็ ตาม ในกรณีที่พลเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา รัฐที่เป็นประชาธิปไตย และมีความรับผิดชอบต่อประโยชน์สุขของประชาชน และต่อความเสื่อมความเจริญของสังคม จะต้องเอาใจใส่ขวนขวายเอื้ออำนวยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชนให้ ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะว่าความเป็นพุทธศาสนิกชนของประชากรส่วนใหญ่เหล่านั้นอยู่ในตัว บุคคลผู้เดียวกันกับที่เป็นพลเมืองของประเทศไทยอย่างแยกจากกันไม่ ออก{mospagebreak}
. ข่าวร้ายต่าง ๆ ในวงการพุทธศาสนาของไทย เป็นเครื่องสะท้อนสภาพเสื่อมโทรมทั้งของสถาบันพุทธศาสนา และสังคมไทย สภาพ ตกต่ำเสื่อมโทรมทั้งทางภูมิธรรม และภูมิปัญญา น่าจะเพียงพอแล้วที่จะกระตุ้นเตือนปลุกเร้าผู้บริหาร ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายศาสนา บุคคลผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดถึงคนไทยทุกคนให้เกิดความสำนึกตื่นตัวขึ้นมาเร่งรีบแก้ไขปัญหา ด้วยการจัดและ      ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในแง่การเรียนรู้กับเนื้อหาและหลักคำสอนที่ถูกต้องแท้จริง
๑๐. บูรณาการสำคัญขั้นตอนที่ขาดหายไป จริยศึกษาของรัฐใน ๒ - ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีแนวโน้มที่จะหันเหไปในทิศทางของจริยธรรมสากล ประจวบกับในช่วงหลังนี้ แนวความคิดแบบบูรณาการได้เฟื่องฟูขึ้น ก็มิได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมสากลนั้นมาประสานเข้ากับแนวคิดแบบ บูรณาการ โดยให้บูรณาการการสอนจริยธรรมเข้าในวิชาต่าง ๆ ทุกวิชา หรือให้ครูแต่ละคนสอนจริยธรรมบูรณาการเข้าในวิชาของตน สอดคล้องกับหลักอุดมคติที่ถือว่าครูทุกคนเป็นผู้สอน     จริยธรรม
การ บูรณาการด้วยการสอนจริยธรรมเข้าในวิชาทุกวิชานั้น เป็นเพียงแง่หนึ่งด้านหนึ่งของบูรณาการ เป็นการบูรณาการในขอบเขตที่แคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น
การบูรณาการสำคัญขั้นตอนใหญ่ที่ขาดหายไป คือ
(๑)                การ บูรณาการองค์จริยธรรมเข้าในระบบจริยธรรม หมายถึง การบูรณาการจริยธรรมเฉพาะอย่างเข้าในระบบจริยธรรมที่เป็นองค์รวม หรือการบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมเข้าในชีวิตจริง
(๒) การบูรณาการตนเข้าในชุมชนหรือบูรณาการบุคคลเข้าในสังคม ที่สำคัญมาก คือ การบูรณาการคนรุ่นใหม่เข้าในสังคมไทย  และในปัจจุบันการที่มีปัญหานี้มากขึ้นแม้ว่าปัญหาจะไม่ออกมาในรูปที่รุนแรง
(๓)  การบูรณาการสถาบันศาสนาเข้าในระบบจริยศึกษาของชุมชน
๑๑. จากคติแห่งศาสนศึกษาในอังกฤษสู่ความคิดหาทางสายกลางของการจัดจริยศึกษา ใน สหรัฐอเมริกา รัฐแยกอาณาจักรกับศาสนจักรขาดออกจากกัน และไม่ให้มีการสอนจริยธรรมตามหลักศาสนานิกายใดนิกายหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ให้สอนจริยธรรมที่เป็นกลาง ๆ ประเทศอังกฤษซึ่งถือกันว่าเป็นแม่แบบแห่งระบอบประชาธิปไตยนับถือศาสนาคริสต์ นิกายอังกฤษหรือแองกลิคาน (Church of England) เป็นศาสนาประจำชาติ และตรากฎหมายบังคับให้โรงเรียนต้องจัดสอนวิชาศาสนา ให้นักเรียนต้องได้เรียนวิชาศาสนาคริสต์ทั่วทุกคน
อาจ พูดสั้น ๆ ว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา วิชาบังคับที่แท้มีวิชาเดียว คือวิชาการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศอังกฤษ วิชาบังคับแท้จริงมีวิชาเดียว คือ วิชาศาสนาคริสต์
ในประเทศอังกฤษ พระราชบัญญัติการศึกษา ค..๑๙๔๔ (..๒๔๘๗) กำหนดให้การเรียนวิชาศาสนา เป็นการศึกษาบังคับสำหรับนักเรียนทุกคน จนกระทั่ง พ..๒๕๓๑ รัฐได้ออกกฎหมายใหม่ เรียกว่าพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษา ค..๑๙๘๘ กฎหมายใหม่นี้ได้กำหนดหลักสูตรพื้นฐานขึ้นมา (Basic Curriculum) โดยจัดแยกเป็น ๒ ส่วน คือ การศึกษาวิชาศาสนา (Religious Education) ที่มีมาแต่เก่าก่อนนั้นส่วนหนึ่ง กับส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่เรียกว่า หลักสูตรแห่งชาติ (National Curriculum) ซึ่งประกอบด้วยวิชาสามัญต่าง ๆ
มี ข้อแตกต่างที่ควรสังเกตก็คือวิชาทั้งหลายในส่วนที่สองที่เรียกว่าหลักสูตร แห่งชาตินั้น บังคับเฉพาะเด็กนักเรียนที่มีอายุในเกณฑ์บังคับเท่านั้น แต่วิชาศาสนาซึ่งเป็นส่วนแรก เป็นวิชาบังคับสำหรับนักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีอายุอยู่ในเกณฑ์บังคับหรือไม่ และในส่วนของวิชาศาสนานี้ กฎหมายใหม่ได้สำทับให้การเล่าเรียน และการปฏิบัติศาสนาคริสต์เป็นไปอย่างหนักแน่นมากขึ้น ในขณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเรียนศาสนาอื่นได้ด้วย
การศึกษาวิชาศาสนาตามกฎหมายปัจจุบันของอังกฤษ มีข้อสังเกตที่สำคัญอย่างอื่นอีก คือ
-         การศึกษาวิชาศาสนาถือเป็นเรื่องสำคัญถึงกับกำหนดบังคับไว้ในกฎหมายของรัฐ
-         การศึกษาวิชาศาสนามีฐานะพิเศษ ถึงกับแยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากหลักสูตรวิชาสามัญทั่วไป โดยมีความสำคัญของตัวเองอย่างเป็นอิสระ
-         การศึกษาวิชาศาสนานี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน  คือการศึกษาวิชาศาสนา  กับการประชุมประกอบพิธีบูชาประจำวัน (การสวดมนต์ไหว้พระ) และกำหนดไว้ด้วยว่า  หลักสูตรจะต้องสะท้อนให้เห็นความจริงว่า  ศาสนาที่สืบ ๆ มาในประเทศอังกฤษมีศาสนาคริสต์เป็นหลัก  และการประกอบพิธีบูชา  จะต้องเป็นไปตามแบบของศาสนาคริสต์ทั้งหมด
-         ครูที่สอนวิชาศาสนา  และครูที่นำพิธีประชุมสวดมนต์บูชานั้น  ทางการให้ความสำคัญมาก  ถึงกับกำหนดไว้ในกฎหมายว่าจะต้องใช้ครูที่มีคุณวุฒิโดยตรง?
-         กฎหมายกำหนดให้ถือว่า  การฝึกอบรมวิชาศาสนานั้น เป็นคุณกิจสำคัญระดับแรกสุดของชาติ (a national priority) อย่างหนึ่ง  กำหนดให้มีการฝึกอบรมครูที่ชำนาญเฉพาะ
-         นอกจากวิชาศาสนาโดยตรงนี้ แล้วเนื้อหาที่ต้องเรียนเกี่ยวกับศาสนายังอาจปรากฏ
ในวิชาอื่น ๆ ตามแต่จะเกี่ยวข้องอีกด้วย
๑๒.  ทางสายกลาง  หรือการกระทำพอดี ๆ ก็คือ  การให้ได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้  ให้ได้คิดในสิ่งที่ควรคิด  แต่ให้รู้จักนำเสนอในลักษณะที่น่าสนใจท้าทาย  และรู้จักกระตุ้นเร้าให้เกิดความ           สนใจ  ชักนำให้รู้จักเรียนรู้  รู้จักคิดพิจารณาเพื่อจะตัดสินใจเลือกได้ด้วยปัญญาที่มีสติสุขุมรอบคอบ  มองเห็นเหตุผล  และคุณโทษ  ได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาข้อมูลและฝึกฝนความรู้จักคิด  พร้อมทั้งพัฒนาชีวิตเคียงกันไปทุกด้าน  ให้การเรียนเป็นกิจกรรมร่วมกันที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนทั้งสองฝ่ายร่วมมือประสานงาน  มีบทบาทแสดงต่อกัน
๑๓.  เรื่องสำคัญของตนเองที่ควรจะต้องรู้  สิ่งดีที่ตนมีพิเศษ  อีกด้านหนึ่งของ            การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ควรพูดไว้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก  คือ การศึกษาพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นความรู้ หรือเป็นเรื่องของวิชาการ และการศึกษาพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งแห่งอารยธรรม ของมนุษยชาติ
มอง ในแง่เป็นภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ตนมีต่างหากจากของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้สังคมไทยมีอะไรที่จะให้แก่อารยธรรมของมนุษยชาติ และที่จะทำให้สามารถเป็นผู้นำเขาบ้างสักด้านหนึ่งใน            ประชาคมโลก แทนที่จะเป็นผู้คอยตามและรับจากเขาร่ำไปก็ดี
ที่กล่าวมานั้น ก็พอเพียงที่จะเป็นเหตุผลให้คนไทยควรจะต้องเรียนรู้พระพุทธศาสนา
๑๔.  หลักการที่ควรตรวจสอบและปฏิบัติการที่ควรทบทวน   เรื่องจริยศึกษานี้ ประเทศไทยมีภูมิหลังที่เรียบร้อยราบรื่น และมีฐานทางหลักการที่เอื้อ มั่นคง และพร้อมดีกว่า สามารถจะเป็น      ผู้ นำได้ อีกทั้งในวงกว้าง ก็เป็นที่ยอมรับกันมากว่า โลกซีกตะวันออกนี้ มีความเจริญทางวัฒนธรรมด้านจิตใจดีกว่าโลกตะวันตก สังคมไทยจึงควรจะตื่นตัว ปลุกจิตสำนึกในความเป็นผู้นำและผู้ให้ขึ้นมา อย่างน้อยที่ควรจะรักษาความเป็นผู้นำด้านจริยศึกษา และการพัฒนาจิตใจไว้ให้ได้
 
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
รัฐควรจัดหลักสูตรการศึกษาให้คนไทยส่วนใหญ่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลสำคัญ    ประการ  คือ
.  คนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ความเข้าใจ  และปฏิบัติถูกต้องต่อศาสนาที่ตนนับถือ
.  คนทุกคนที่อยู่ในสังคมไทย  ควรเรียนรู้พระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย  เป็นสถาบันใหญ่  และเป็นสภาพแวดล้อมของสังคมไทย  เพื่อดำเนินชีวิตและทำงานหรือทำหน้าที่ที่เป็นส่วนรวมในการพัฒนาสังคมไทยนั้นอย่างประสานกลมกลืน  และได้ผลดี
              ๓.  สังคมไทยอาศัยพระพุทธศาสนา  เป็นแหล่งคำสอนจริยธรรม  และได้ยอมรับระบบ   จริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา  เป็นมาตรฐานที่ยึดถือปฏิบัติตามตลอด  คนไทยจึงควรเรียนรู้     พุทธจริยธรรม  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาชีวิตพัฒนาสังคมให้บรรลุประโยชน์และสันติสุข