แผนการเรียนรู้ พระพุทธศาสนา ม.๑

แผนการจัดการเรียนรู้  พระพุทธศาสนา
รายวิชา  ส 21101  สังคมศึกษา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ปีการศึกษา 2554เวลา   44  ชั่วโมง


มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

                    ส  1.1รู้และเข้าใจ ประวัติ  ความสำคัญ  หลักธรรมของพระพุทธหรือศาสนา ที่ตนนับถือและศาสนาอื่น  มีศรัทธาที่ถูกต้อง  ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม  เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข


 ตัวชี้วัด
                                 ม.1/1  อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศไทย
                                ม.1/2วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ที่มีต่อสภาพแวดล้อมใน
สังคมไทยรวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว
                                 ม.1/3วิเคราะห์พุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือ
                                             ตามกำหนด
                                  ม.1/4วิเคราะห์และประพฤติตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิด  จากประวัติสาวก ชาดก เรื่อง
 เล่า และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด
                         ม.1/5อธิบายพุทธคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 หรือ หลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามกำหนด เห็นค่าและนำไปพัฒนาแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว
                                     ม.1/6  เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยสิโสมนสิการ
คือวิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณ- โทษ และทางออกหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
                                      ม.1/7 สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปาสติหรือตามแนวทางของศาสนา
ที่ตนนับถือ
                                       ม.1/8วิเคราะห์และปฎิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและ
ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการร่วมกันได้อย่างสันติสุข
                                      ม.1/9วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้
                                      ม. 1/10ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                                      ม.1/11    วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์และนำเสนอแนวทางปฎิบัติ   ของตนเอง
มาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด

                              ส  1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี   และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือ
                                           ศาสนาที่ตนนับถือ

  ตัวชี้วัด
                             ม.1/1  บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ
                             ม.1/2  อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฎิบัติและปฎิบัติตนอย่าง
                                           เหมาะสมต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ
                             ม.1/3     ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
                             ม.1/4    จัดพิธีกรรมและปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง
                             ม. 1/5    อธิบายประวัติความสำคัญและปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
                                           ถูกต้อง


ทักษะกระบวนการ
1.             กระบวนการปฏิบัติ
2.             กระบวนการทำงานกลุ่ม
3.             กระบวนการคิดสร้างสรรค์
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
1.             มีจิตเป็นสาธารณะ
2.             มีความรับผิดชอบ
3.             มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
4.             เป็นคนกล้าแสดงออก
5.             เป็นคนดีของสังคม

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                1. วิธีวัด
                                - สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม/รายบุคคล
                                - ตรวจกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล   
                                - ตรวจผลงานกลุ่ม
                                - ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                                - ตรวจแบบทดสอบประจำตอน

2. เครื่องมือ
                                - แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม/รายบุคคล
                                - แบบประเมินกิจกรรม/ใบงาน
                                - แบบประเมินผลงานกลุ่ม
                                - แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                                - แบบทดสอบประจำตอน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
คะแนน 17-20                                                                                     ระดับคุณภาพ       ดีมาก
  “                           13-16                                                                                                                   ดี
  “                           9-12                                                                                                                     พอใช้
                              5-8                                                                                                                        ปรับปรุง


สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์
หนังสือเรียน
 รูปภาพ
                                                       การจัดการเรียนรู้ที่ 11

เรื่อง       ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา              เวลา  3   ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักของไทยที่มีส่วนช่วยให้สังคมไทยเกิดความสงบสุขอยู่กันอย่างร่มเย็น และยังช่วยสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมไทยที่ดีงามที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
                ความสำคัญของพระพุทธศาสนาไม่เพียงแต่มีอิทธิพลต่อพุทธศาสนิกชนเฉพาะในด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในการเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย
เนื้อหาสาระ
                1. การสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
                2. ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันหลักสังคมไทย                                                                                                                                                             

กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 การสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย      เวลา       1              ชั่วโมง
ขั้นนำ    1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย ด้วยการให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาทีแผ่เมตตา
2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                3. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนทราบ
                4. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประเด็น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
ขั้นสอน 5. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน โดยคละความสามารถและเพศ
                6. แต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาเรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
                7. ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย แล้วสรุปเป็นความคิดของกลุ่ม
                8. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นหน้าชั้นเรียน
ชั้นสรุป  9. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุปประเด็นที่ศึกษาหลังจากที่ตัวแทนทุกกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นครบทุกกลุ่ม
                10. ผู้เรียนทำใบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันหลักสังคมไทย            เวลา        ชั่วโมง
ขั้นนำ       1. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยการนำนักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียนหรือใต้ร่มไม้
            2. สนทนากับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาโดยใช้คำถามนำว่าพระพุทธศาสนามีความสำคัญอื่นอีกหรือไม่
ขั้นสอน      3. ผู้สอนเปิดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนาให้ผู้เรียนดู
                    4. จากนั้นให้ผู้เรียนจับคู่กันกับเพื่อนเพื่อร่วมกันอภิปรายในสิ่งที่ตนได้ดู
                5. แจกใบงานเรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันหลักสังคมไทย
ขั้นสรุป6  . ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันเฉลยใบงาน
                7. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุปความรู้เรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันหลักสังคมไทย
                  7. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
                   8. ผู้เรียนทำแบบทดสอบตอนที่ 1


กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ผู้เรียนควรหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง       สรุป และวิเคราะห์ พุทธประวัติ       เวลา 4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลมีระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคติความเชื่อทางศาสนา เป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อในเรื่องวรรณะที่ชาวชมพูทวีปยึดมั่นอย่างเคร่งครัดจนกลายเป็นเครื่องกดขี่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ จึงเป็นผลให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้น

เนื้อหาสาระ
1. สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ
                1.1 ประสูติ
                1.2 เทวทูต 4
                1.3 การแสวงหาความรู้
                1.4 บำเพ็ญทุกรกิริยา
                               
กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1ประสูติ                     เวลา       1              ชั่วโมง
ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยนำผู้เรียนนั่งสมาธิ 3-5 นาทีก่อนเรียนแล้วแผ่เมตตา
                2. ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน
                3. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                4. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนาประเด็นต่าง ๆ กับผู้เรียน
ขั้นสอน 5. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน
                6. ผู้สอนเปิด ซีดีสาระพระพุทธศาสนา ม.1 เรื่องพุทธประวัติให้ผู้เรียนดู
7.ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสนทนาถาม-ตอบ เกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้ดูหลังจากนั้นให้สรุปเนื้อหาเป็นแผนภาพ
                8. ผู้สอนสุ่มตัวแทนกลุ่มมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 2-3 กลุ่ม จากนั้นช่วยกันเฉลยคำตอบของใบกิจกรรม
ขั้นสรุป 10. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง การประสูติ              

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2  เทวทูต 4                เวลา 1 ชั่วโมง
 ขั้นนำ   1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนสวดมนต์ไหว้พระ และทำสมาธิ 3-5 นาที
                2. ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เรื่อง เทวทูต 4
 ขั้นสอน3.แจกใบความรู้เรื่อง เทวทูต 4ให้ผู้เรียนศึกษา 5 นาที
                4. ผู้สอนให้ผู้เรียนตั้งคำถาม หลังจากนั้นแลกเปลี่ยนกันถามตอบ
ขั้นสรุป5. ผู้สอนนำสื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา(CAI)ให้ผู้เรียนศึกษาเป็นการสรุปเนื้อหา
                6. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแผนที่ความคิดเป็นการสรุปเนื้อหาอีกรอบ

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3  การแสวงหาความรู้ บำเพ็ญทุกรกิริยา            เวลา       2              ชั่วโมง
ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการให้ผู้เรียนจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ไหว้พระสวดมนต์ และทำสมาธิ 3-5 นาที
                2. ผู้สอนนำภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับภาพตามประเด็นดังนี้
                                2.1 ภาพนี้เป็นภาพอะไร
                                2.2 ภาพนี้เกิดขี้นที่ไหน
                                2.3 ภาพนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ขั้นสอน 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรมแล้วส่งผลงาน
                4. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผู้สอนชมเชยผู้ที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี
ขั้นสรุป 5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง เทวทูต 4   บำเพ็ญทุกรกิริยา

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ให้นักเรียนภาคสนามจริงไปทัศนศึกษาวัดใดวันหนึ่ง


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง       ชาดก                      เวลา 2 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                ชาดก หมายถึง เรื่องเล่าของคนในอดีตที่ปรากกฎในตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่มากมายหลายเรื่อง  ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า และเรื่องราวของสัตว์โลกทั่วไป ที่มีข้อคิด คุณธรรม สามารถนำไปใช้เป็นคติธรรมสอนตนเองได้ในสังคมปัจจุบัน

เนื้อหาสาระ
                - ติตติรชาดก
                - อัมพชาดก

กระบวนการจัดการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1ติตติรชาดก/อัมพชาดก         เวลา       2              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยการนำผู้เรียนจัดการเรียนนอกห้องเรียนหรือใต้ร่มไม้
                                2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                                3. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                                4. นำเข้าสู่บทเรียน โดยการสนทนาซักถามผู้เรียนในประเด็นต่าง ๆ ที่กำหนด เช่น
                                - ชาดกคืออะไร
                                - นักเรียนเคยฟัง อ่าน หรือศึกษาชาดกเรื่องใดมาบ้าง
                                - ชาดกที่ได้ฟัง อ่าน หรือศึกษามาให้ข้อคิดคติเตือนใจอะไรบ้าง
                                - ใครเคยฟัง อ่าน หรือศึกษา ติตติรชาดก/อัมพชาดก มาบ้าง
                ขั้นสอน 5. สุ่มตัวอย่างนักเรียน 2-3 คน ที่เคยฟัง อ่าน หรือศึกษา ติตติรชาดก/อัมพชาดก ออกมาช่วยกันเล่าเรื่อง ติตติรชาดก/อัมพชาดกให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน โดยครูผู้สอนและเพื่อนคนอื่น ๆ ช่วยกันเสริมความรู้ให้สมบูรณ์
                                6. ผู้สอนแจกใบความรู้เรื่อง ติตติรชาดก/อัมพชาดก  
                                7. จากนั้นแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ทำใบกิจกรรม
                ขั้นสรุป 8. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันเฉลยคำตอบใบกิจกรรม และเปิดซีดีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ติตติรชาดก/อัมพชาดก เป็นการสรุปเนื้อหาอีกรอบหนึ่ง
                                9. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบตอนที่ 3

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ให้ผู้เรียนช่วยกันทำแผ่นพับเพื่อเผยแผ่ความรู้เรื่อง ติตติรชาดก/อัมพชาดก


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง       วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา         เวลา 4 ชั่วโมง

สาระสำคัญ
                วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในพระพุทธศาสนาโดยเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัย ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา
                วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นกัน แต่ไม่สำคัญเท่า 3 วัน ดังกล่าวข้างต้น
                วันสำคัญทางพรพุทธศาสนาเหล่านี้ บางวันทำให้เกิดเทศกาลสำคัญที่ชาวไทยถือปฏิบัติกันมาจากลายเป็นประเพณี

เนื้อหาสาระ
                1. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
                                1.1 วันวิสาขบูชา
                                1.2 วันอาสาฬหบูชา
                                1.3 วันมาฆบูชา
                                1.4 วันอัฏมีบูชา
                2. วันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ
                                2.1 วันธรรมสวนะ
                                2.2 วันเข้าพรรษา
                                2.3 วันออกพรรษา
                                2.4 วันเทโวโรหณะ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา          เวลา       1 ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยการจัดโต๊ะเป็นรูปตัว U สวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ 3-5 นาที
                                2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                                3. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                ขั้นสอน 4. ผู้สอนสนทนาร่วมกับผู้เรียนถึงการที่ UNESCO ได้ประกาศยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลกและวันสำคัญสากลของโลก เหตุผลสำคัญที่ได้รับการยกย่องเช่นนั้นเพราะพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล และมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง เช่น มีเหตุผลพิสูจน์ได้จริง มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย เป็นต้น
                                5. ให้ผู้เรียนศึกษาเอกสารการรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก โดยองค์การสหประชาชาติ หรือ UNESCO
                                6. ให้ผู้เรียนดูซีดีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่น การตักบาตร การรักษาศีล การฟังธรรม การเวียนเทียน  จากนั้นแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม ให้แสดงบทบาทสมมติการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนากลุ่มละ 1 หัวข้อ ดังนี้
                                กลุ่มที่ 1 การทำบุญตักบาตร
                                กลุ่มที่ 2 การรักษาศีลและฝึกสมาธิ
                                กลุ่มที่ 3 การฟังธรรม
                                กลุ่มที่ 4 การเวียนเทียน
                                7. ผู้สอนกล่าวชมเชยการแสดงบทบาทสมมติ และให้คำแนะนำเพิ่มเติม ต่อจากนั้นผู้สอนให้ความรู้แก่ผู้เรียนถึงหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในแต่ละวัน ดังนี้
                                                7.1 วันวิสาขบูชา                 ®         อริยสัจ 4
                                                7.2 วันอาสาฬหบูชา           ®         ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
                                                7.3 วันมาฆบูชา                   ®         โอวาทปาติโมกข์
                                8. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
ขั้นสรุป 9. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยคำตอบใบกิจกรรมและร่วมกันอภิปรายสรุปความรู้เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันธรรมสวนะ วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา         เวลา       2 ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนนำผู้เรียนไปศึกษาที่วัดใกล้โรงเรียนในวันพระ สวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ 3-5 นาทีก่อนเรียน
                ขั้นสอน 2. แจกใบความรู้เรื่อง วันธรรมสวนะ วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหา หลังจากนั้นให้ทำใบกิจกรรม
                                3. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยใบกิจกรรม แล้วให้ผู้เรียนยกตัวอย่างหลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับวันธรรมสวนะ
                                4. ผู้สอนเลือกลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งที่ผู้เรียนยกตัวอย่างมาอภิปรายกับผู้เรียนถึงความเกี่ยวเนื่อง
                ขั้นสรุป 5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง วันธรรมสวนะวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา
                                6. ให้นักเรียนเลือกหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งทำรายงาน โดยให้ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้
                                                6.1 ความหมายและประเภท
                                                6.2 ความสำคัญและประโยชน์
                                                6.3 การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 11 เทศกาลสำคัญ                    เวลา       1 ชั่วโมง
ขั้นนำ    1. ผู้เรียนสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ 3-5 นาที ก่อนเรียนแผ่เมตตา
                2. ผู้สอนสนทนาซักถามผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของไทย
ขั้นสอน 3. ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มละ ๆ 4-6 คนให้แต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของไทย
                4. ผู้เรียนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเทศกาลสำคัญตามประเด็นต่อไปนี้
                                4.1 เทศกาลสำคัญของไทยามีเทศกาลอะไรบ้าง
                                4.2 ความสำคัญของเทศกาล
                                4.3 เทศกาลวันสำคัญที่ได้กล่าวมาควรอนุรักษ์ไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ขั้นสรุป 5. ให้ผู้เรียนสรุปความสำคัญของเทศกาลต่าง ๆ เป็นแผนที่ความคิด
                6. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบตอนที่ 4 จาก CAI สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. เมื่อถึงวาระวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดวันหนึ่ง/เทศกาลสำคัญ ผู้สอนควรนำผู้สอนไปศึกษาและร่วมพิธีกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์จริง
                2. ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันจัดนิทรรศการหรือป้ายนิเทศเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
เรื่อง       หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา                       เวลา ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ และสั่งสอนแก่พระสาวกสือต่อกันมา เป็นเวลานานกว่า 2,500 ปี เป็นหลักความจริงอันประเสริฐที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาชีวิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีอยู่จำนวนมาก ซึ่งแต่ละอย่างเราสามารถเลือกนำมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับอุปนิสัยและวิถีชีวิตในการดำเนินชีวิตได้ ในที่นี้จะได้กล่าวถึงหลักธรรมเกี่ยวกับพระรัตนตรัย คือ ธรรมคุณ 6 หลักธรรมเกี่ยวกับอริยสัจ 4 เช่น ขันธ์ 5 หลักธรรม อกุศลกรรมบถ 10 สุข 2 มงคลชีวิต พุทธศาสนสุภาษิต เป็นต้น

เนื้อหาสาระ
                1. อริยสัจ 4
                2. พุทธศาสนสุภาษิต
                3. พระไตรปิฎก
                4. คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา
                       
กระบวนการจัดการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 12 พุทธคุณ 9            เวลา       1              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาที จากนั้นให้ผู้เรียนจับคู่กับเพื่อนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                                2. ผู้สอนเฉลยแบบทดสอบและแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                ขั้นสอน 3. ผู้สอนสนทนาซักถามผู้เรียนและให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นในประเด็นว่า ขณะที่ไหว้พระสวดมนต์นั้น จิตใจของผู้เรียนระลึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในเรื่องอะไรบ้าง        
                                4. ผู้สอนสรุปประเด็นการแสดงความคิดเห็น แล้วโยงผลสรุปไปสู่เนื้อหาเรื่อง ความหมายและคุณค่าแห่งพุทธคุณ 9
                                5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประเด็นว่า คุณค่าแห่งพุทธคุณ 9มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการดำรงชีวิต
                ขั้นสรุป 6. หลังจากแสดงความคิดเห็นสรุปประเด็นสำคัญ แล้วให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 13                อริยสัจ 4                                              เวลา       1              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ให้ผู้เรียนนั่งเป็นกลุ่ม ไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาทีก่อนเรียน
                                2. ผู้เรียนสนทนาร่วมกับนักเรียนตามประเด็นเกี่ยวกับอริยสัจ 4
                ขั้นสอน 3. ผู้สอนสรุปและให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเรื่อง อริยสัจ 4 : สรุปคำสอนของพระพุทธศาสนาในอริยสัจ
                                4. ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน และแจกใบงานที่ 1 เรื่อง ปัญหานี้ ... จะแก้ไขอย่างไร ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำ
                                5. หลังจากผู้เรียนทำใบงานเสร็จแล้ว ผู้สอนซักถามปัญหาในประเด็นต่าง ๆโดยสุ่มหมายเลขประจำตัวสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ตอบ
                ขั้นสรุป 6. เมื่อทุกกลุ่มตอบข้อซักถามเสร็จแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปความรู้ในประเด็นสำคัญของปัญหาที่นำเสนอเชื่อมโยงกับหลักอริยสัจ 4
                                7. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 14 ทุกข์      สมุทัย (ธรรมที่ควรละ)                                     เวลา       3              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนนำผู้เรียนไปศึกษานอกห้องเรียน หรือใต้ต้นไม้ เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
                ขั้นสอน 2. ผู้สอนชี้ให้ผู้เรียนดูต้นไม้ แล้วถามผู้เรียนว่า ต้นไม้ประกอบด้วยส่วนสำคัญอะไรบ้าง ให้ผู้เรียนช่วยกันตอบจากนั้นถามผู้เรียนว่า ถ้าแยกส่วนประกอบเหล่านั้นออกจากกันต้นไม้จะเป็นอย่างไร
                                3. เมื่อได้คำตอบอย่างหลากหลายจากผู้เรียนแล้ว ผู้สอนสรุปแล้วเชื่อมโยงความรู้ไปสู่เรื่อง ขันธ์ 5 (นามรูป) จากนั้นให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากใบความรู้/หนังสือเรียน
                ขั้นสรุป 4. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง ขันธ์ 5 (นามรูป)
                                5. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
                                6. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปศึกษาเนื้อหาเรื่อง สมุทัย (ธรรมที่ควรละ)




การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 16 นิโรธ (ธรรมที่ควรลุ)        เวลา       1              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาทีแผ่เมตตา
                                2. ให้ผู้เรียนดูภาพคนนั่งสมาธิ แล้วสนทนาซักถามผู้เรียนว่า เป็นภาพเกี่ยวกับอะไรการกระทำในภาพตามหลักภาวนา 4 เรียกว่าอะไร นักเรียนเคยกระทำแบบในภาพหรือไม่ ทำแล้วได้ผลเป็นอย่างไร จากนั้นสรุปความรู้เกี่ยวกับภาพ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาเรื่อง สุข 2 คือ คิหิสุข
                ขั้นสอน 3. ผู้สอนใช้วิธีสอนแบบใช้คำถามนำให้ผู้เรียนคิดตาม ผู้เรียนถามผู้เรียนตอบ โดยผู้สอนจะไม่เป็นผู้ตอบเอง แต่จะคอยกระตุ้นเร้าหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันตอบเกี่ยวกับความรู้เรื่อง สุข 2
                ขั้นสรุป 4. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญของเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
                                5. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
                                6. ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาเนื้อหาเรื่อง มรรค : ธรรมที่ควรเจริญ

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 17 ไตรสิกขา กรรมฐาน 2 ปธาน 2 โกศล 3        จำนวน                  1              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ให้ผู้เรียนสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยนำผู้เรียนไปศึกษาใต้ร่มไม้
                ขั้นสอน 2. ผู้สอนใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่ม คละความสามารถและเพศ กำหนดหมายเลขประจำตัวผู้เรียนแต่ละคน เพื่อหาข่าว กรณีตัวอย่าง หรือตัวอย่างในชีวิตจริงของบุคคลแล้วร่วมกันอภิปรายตามประเด็นที่กำหนดให้
                                               
2.1 ไตรสิกขา  คือหลักธรรมอะไร
                                                2.2 กรรมฐาน 2  คือหลักธรรมอะไร
                                                2.3 ปธาน 2  คือหลักธรรมอะไร
                                                2.4 โกศล 3 คือหลักธรรมอะไร
                                3. หลักธรรมที่กล่าวมาทั้งหมดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างไร
                                4. ทั้งกลุ่มร่วมกันอภิปราย สรุป บันทึกผลการอภิปราย และเตรียมนำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน ขณะที่ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้นตอน ผู้สอนควรกำกับดูแล กระตุ้นให้ผู้เรียนแต่ละคนร่วมแสดง

ความคิดเห็นในการอภิปรายให้มากที่สุด
                                5. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันนำเสนอผลงานด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น ใช้แผ่นใส โปสเตอร์ เป็นต้น
                ขั้นสรุป 6. หลังจากนำเสนอผลการอภิปรายครบทุกกลุ่มแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย สรุปสาระหลักของหลักธรรมเรื่อง ไตรสิกขา กรรมฐาน 2 ปธาน 2 โกศล 3
                                7. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 18 มงคล 38 :ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาผู้ควรบูชา         เวลา                2              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาที แผ่เมตตา
                                2. เล่าข่าวหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับชีวิตการเที่ยวเวลากลางคืน การเสพย์ยาเสพติด แล้วร่วมกันสนทนาและเชื่อมโยงไปสู่มงคล 38 เรื่อง ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาผู้ควรบูชา
                ขั้นสอน 3.ให้ผู้เรียนดูบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกี่ยวกับการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน แล้วร่วมกันสนทนา ถึงข้อดีของบวช 
                                4. ให้ผู้เรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวที่ได้ดูในประเด็นต่าง ๆ เช่น
                                - การบวชสามเณรภาคฤดูร้อนเป็นการกระทำที่ดีหรือไม่  เพราะเหตุใด
                                - การบวชสามเณรภาคฤดูร้อนเกี่ยวข้องกับเรื่อง ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาผู้ควรบูชา หรือไม่ อย่างไร
                                5. แต่ละกลุ่มบันทึกผลการแสดงความคิดเห็น และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนโดยผู้สอนคอยเสริมความรู้ในแต่ละเรื่อง
                ขั้นสรุป 6. เมื่อเสนอผลงานครบทุกกลุ่มแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่องราวดังกล่าว                                          7.ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
                                8.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และทำแบบทดสอบตอนที่ 5
               
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ให้ผู้เรียนร่วมกันออกแบบบันทึกการปฏิบัติตนตามหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอริยสัจ 4 เพื่อนำไปใช้บันทึกการปฏิบัติของตนในชีวิตประจำวัน และจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขตนต่อไป

แผนการจัดการเรียนรู้ที่6
เรื่องพุทธศาสนสุภาษิตเวลา 4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                ในพระไตรปิฎก นอกจากมีหลักธรรมแล้ว ยังมีเรื่องน่ารู้และพระพุทธศาสนสุภาษิต อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเนื่องจากให้ข้อคิดหรือคติเตือนใจที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้
                คำศัพท์ในภาษาไทยมีคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาปนอยู่จำนวนมาก บางคำมีความหมายเหมือนเดิม บางคำเมื่อใช้ไปนาน ๆ ความหมายก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงต้องศึกษาคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาให้เข้าใจ เพื่อจะได้นำไปใช้สื่อความหมายได้ถูกต้อง



เนื้อหาสาระ
               
                1. พุทธศาสนสุภาษิต
                                1.1 คบคนเช่นใด เป็นคนเช่นนั้น
                                1.2 จงเตือนตนด้วยตน
                                1.3 ใคร่ครวญก่อนทำจึงดี
                                1.4 เรือนที่ครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
                2. คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา
                                2.1 ปริยัติ
                                2.2 ปฏิบัติ
                                2.3 ปฏิเวธ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 โครงสร้างชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระวินัยปิฎก              เวลา       1 ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาที ก่อนเรียนเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
                                2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                ขั้นสอน 3. ให้ผู้เรียนจับคู่ แต่ละคู่เข้าห้องสมุด ช่วยกันศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในพระไตรปิฎกที่กลุ่มสนใจ 1 เรื่อง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                1) พระไตรปิฎกที่ศึกษาค้นคว้าคือเล่มใด อยู่ในหมวดใด
                                2) เรื่องที่ศึกษาค้นคว้า คือเรื่องอะไร
                                3) เรื่องนั้นมีใจความสำคัญว่าอย่างไร
                                4) เรื่องนั้นให้ข้อคิดหรือคติสอนใจอะไรบ้างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
                ข้อสรุป  5. เปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ผลงานและซักถามข้อสงสัยตามความเหมาะสม จากนั้นร่วมกันสรุปเรื่องราวทั้งหมด

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา                              เวลา       1 ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนนั่งเป็นตัว U
                                2. ผู้สอนนำข้อความหรือบทความสั้น ๆ มาให้ผู้เรียนศึกษาแล้วให้ผู้เรียนพิจารณาว่า ในข้อความหรือบทความดังกล่าวมีคำใดบ้างเป็นคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา รู้ได้อย่างไร และคำศัพท์นั้นหมายความว่าอย่างไร
                                3. จากนั้นผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยและสรุปความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา
                ขั้นสอน 4.แบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ศึกษาความรู้เรื่อง คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา : ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จากแบบเรียน
                                5. รวมกลุ่มกันอธิบายความหมายของคำศัพท์ทั้งสามอีกครั้ง แล้วทำแผนที่ความคิด (Mind Mapping) เรื่อง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตกแต่งให้สวยงาม แล้วแลกเปลี่ยนกันดูระหว่างกลุ่ม
                ขั้นสรุป 6. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
                                7. ช่วยกันเฉลยใบกิจกรรม แล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
                                8. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบตอนที่ 6

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3พุทธศาสนสุภาษิต                เวลา       1              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ก่อนเรียนผู้สอนให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์ และนั่งสมาธิ 3-5 นาที
                                2. ให้ผู้เรียนทำใบงานเรื่องที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต
                                3. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยใบงาน และให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต
                ขั้นสอน 4. ผู้สอนเปิดซีดีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง พุทธศาสนสุภาษิตให้ผู้เรียนดู เสร็จแล้ว
                                5. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คละความสามารถและเพศ แต่ละกลุ่มหาภาพหรือข่าวประจำวันหรือกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวกับการกระทำของบุคคลที่สอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตบทใด อย่างไร สรุป และวางแผนการนำเสนอ
                                6. ผู้สอนทำหน้าที่ประสานงานในระหว่างการนำเสนอ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนร่วมประเมินและแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผลงานทุกชิ้น
                ขั้นสรุป 7. เมื่อนำเสนอผลงานครบทุกกลุ่มแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญและข้อคิดที่ได้จากภาพหรือข่าวประจำวันอีกครั้ง
                                8. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
               
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ผู้เรียนควรหาโอกาสศึกษาเพิ่มเติมพระไตรปิฎก

แผนการจัดการเรียนรู้ที่7

เรื่อง       การบริหารจิตและการเจริญปัญญา                 เวลา       4              ชั่วโมง

สาระสำคัญ
                การบริหารจิตและการเจริญปัญญาเป็นวิธีทำจิตใจให้มีความเข้มแข็ง สงบ และเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง การบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนามีหลากหลายวิธี วิธีที่ใช้กันมาก คือ สติปัฏฐาน 4 การบริหารจิตและการเจริญปัญญามีประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ และประโยชน์สูงสุด คือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน
                โยนิโสมนสิการเป็นกระบวนการคิดที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ คุณภาพชีวิตและสังคมได้มี 10 วิธี วิธีคิดที่นำมาเรียนในชั้นนี้ คือ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบคุณ-โทษ และทางออก

เนื้อหาสาระ
                1. การบริหารจิตและการเจริญปัญญา
                                1.1 ความหมายของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
                                1.2 วิธีการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
                                1.3 ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
                2. การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
                                2.1 แบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
                                2.2 แบบคุณ-โทษ และทางออก
กระบวนการจัดการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 การบริหารจิตและการเจริญปัญญา   เวลา       2  ชั่วโมง
ชั่วโมงที่ 1-3
ขั้นนำ    1. ผู้สอนนำผู้เรียนไปเรียนห้องจริยธรรม หรือศาลาการเปรียญที่วัดใกล้โรงเรียน ให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์
                                2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                ขั้นสอน 3. ผู้สอนเล่าเหตุการณ์หรือนิทานย่อ ๆ ให้ผู้เรียนฟัง 1เรื่อง แล้วสุ่มผู้เรียน 3 คน ออกมาเล่าเหตุการณ์หรือนิทานเรื่องนั้นหน้าชั้นเรียน
                                4. ให้นักเรียนที่เหลือช่วยกันตรวจสอบว่าใครเล่าได้ใจความใกล้เคียงกับเรื่องที่ผู้สอนเล่าให้ฟังมากที่สุด และให้นักเรียนคนนั้นบอกเหตุผลว่า เหตุใดจึงจำเรื่องที่ผู้สอนเล่าให้ฟังได้มาก ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะสรุปเหตุผลที่สำคัญ คือ ความตั้งใจฟัง หมายถึง การมีสมาธินั่นเอง
                                5. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของสมาธิ
                                6. ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเรื่อง การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ในแบบเรียน
                                7. ให้ผู้เรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ช่วยกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความหมาย วิธีการ และประโยชน์ ตกแต่งแผนที่ความคิดให้สวยงาม และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
                ขั้นสรุป 8. ผู้เรียนและผู้สอนช่วยกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจิตและการเจริญปัญญา

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบโยนิโสมนสิการ              เวลา    2ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยจัดนักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม แล้วไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ 3-5 นาที
                                2. ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับกระบวนการคิดที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ในประเด็นต่าง ๆ เช่น ความหมาย ประเภท ความสำคัญ เพื่อเชื่อมโยงความรู้ไปสู่เรื่องวิธีคิด แบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบคุณ-โทษ และทางออก
ขั้นสอน 3. แจกใบความรู้เรื่อง พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิวิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบคุณ-โทษ และทางออก
                                4. แจกข่าว บทความ ภาพเหตุการณ์ ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ว่า ถ้าตนเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นจะใช้วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบคุณ-โทษ และทางออกอย่างไร
                                5. แต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นจนได้ข้อสรุปร่วมกันจากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการวิเคราะห์หน้าชั้นเรียน
                                6. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ผลงานของกันและกัน โดยมีผู้สอนเป็นผู้แนะนำและเสริมความรู้เพิ่มเติม
                ขั้นสรุป 7. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญของวิธีคิดแบบแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบคุณ-โทษ และทางออ
สื่อการเรียนรู้
                1. เหตุการณ์หรือนิทาน
                2. วีดิทัศน์เกี่ยวกับการบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
                3. CAI สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา       ม. 1
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ผู้สอนหาโอกาสนำผู้เรียนไปฝึกปฏิบัติธรรมใกล้โรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์จริง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่8
เรื่อง       พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง                                              เวลา 3ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                ประวัติของ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี อนาถบิณฑิกะ นางวิสาขาพระโสณะและพระอุตตระ
พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นประวัติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและนำเอาแนวทางการดำเนินชีวิตตลอดจนคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของท่านเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

เนื้อหาสาระ
                1. พุทธสาวกและพุทธสาวิกา
                                1.1 พระมหากัสสปะ
                                1.2 พระอุบาลี
                                1.3 อนาถบิณฑิกะ
                                1.4 นางวิสาขา
                2. ชาวพุทธตัวอย่าง
                                2.1 พระโสณะและพระอุตตระ
                                2.2 พระเจ้าอโศกมหาราช

กระบวนการจัดการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1พุทธสาวกพุทธสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง  จำนวน 2  ชั่วโมง
ชั่วโมงที่ 1-2
                                ขั้นนำ    1. ให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาที
                                                2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                                                3. ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับพุทธสาวกและพุทธสาวิกาในประเด็นต่าง ๆ เช่น
                                                F พุทธสาวกและพุทธสาวิกา คือใคร
                                                F นักเรียนรู้จักพุทธสาวกหรือพุทธสาวิกาท่านใดบ้าง
                                                Fเพราะเหตุใดจึงรู้จักพุทธสาวกหรือพุทธสาวิกาเหล่านั้น หรือ สนทนาซักถามกันในหัวข้อ ร่วมคิด ... ร่วมอภิปราย โดยผู้สอนเป็นคนกำหนดประเด็นในการอภิปราย
                ขั้นสอน 4. ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนและกำหนดหมายเลขประจำตัวของผู้เรียนแต่ละคนภายในกลุ่มเป็น  1, 2, 3 และ 4
                                                5. ผู้สอนแจกใบงานเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์ประวัติพุทธสาวกและพุทธสาวิกาชาวพุทธตัวอย่าง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติตามขั้นตอนในใบงาน

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข่าว กรณีตัวอย่าง หรือตัวอย่างบุคคลในสังคมที่มีคุณธรรมของความเป็นชาวพุทธที่ดี เป็นที่ยกย่องของสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่9

เรื่อง       หน้าที่ชาวพุทธและศาสนพิธี                           เวลา  4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                ชาวพุทธ เป็นกลุ่มบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง มีหน้าที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจของพระภิกษุ คุณสมบัติของทายกและปฏิคาหก รักษาศีล 8 เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกขององค์กรชาวพุทธ ปฏิบัติตนตามหลักทิศเบื้องบนในทิศ 6 เข้าค่ายคุณธรรม เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา และแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
                มรรยาทชาวพุทธ คือ การแสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนา
เนื้อหาสาระ
                1. หน้าที่ชาวพุทธ
                                1.1เรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุที่ต้องศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
                                1.2 การปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมด้วยกาย วาจา ใจ
                                1.3 การเข้าค่ายพุทธบุตร
                                1.4 การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
                                1.5 การเป็นเพื่อนที่ดีตามหลักทิศเบื้องซ้ายในทิศ 6
                                1.6 มิตรแท้ -มิตรเทียม
                                1.7 การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
               
2. ศาสนพิธี
                                2.1 การจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบหมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 7 และหมู่ 9
                                2.2 การจุดธูปเทียน การจัดเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา
                                2.3 คำอาราธนาต่างๆ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2หน้าที่ชาวพุทธ                      เวลา       2              ชั่วโมง
ชั่วโมงที่ 1-2
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนนั่งเป็นตัว U
                                2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                                3. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                ขั้นสอน 4. ให้ผู้เรียนดู CAI สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ม.1 เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ
                                5. หลังจากผู้เรียนดู CAI สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแล้วร่วมกันสนทนากับผู้เรียนในประเด็นต่าง ๆ เช่น
v นักเรียนเคยทำกิจกรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนาหรือไม่
v ถ้าเคยทำแล้วมีความรู้สึกอย่างไร
v ถ้ามีโอกาสจะทำกิจกรรมนั้นอีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
v นอกจากกิจกรรมนั้นแล้ว ชาวพุทธที่ดีควรทำกิจกรรมอะไรอีกบ้าง
                                6. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ชาวพุทธที่ดีควรกระทำ จากนั้นให้ผู้เรียนสำรวจพฤติกรรมของตนว่าได้กระทำกิจกรรมอะไรบ้างที่แสดงความเป็นชาวพุทธที่ดี โดยบันทึกลงในแบบสำรวจพฤติกรรมแสดงความเป็นชาวพุทธที่ดี
                                7. ผู้สอนสุ่มตัวอย่างผู้เรียน 3-5 คน ให้ออกมาเล่าการกระทำกิจกรรมที่เป็นหน้าที่ของชาวพุทธ โดยให้เพื่อนที่เหลือซักถามและนำเสนอเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างออกไป
                ขั้นสรุป 8. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุปความรู้เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ
                                9. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3ศาสนพิธี เวลา       ชั่วโมง
ชั่วโมงที่ 1-2
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิก่อนเรียน 3-5 นาที
                                2. ผู้สอนให้ผู้เรียนดูบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระพระพุทธศาสนา ม.1 เรื่อง ศาสนพิธี พร้อมทั้งให้ผู้เรียนจับคู่กันทำใบงาน
                ชั้นสอน 3. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยใบงาน และสรุปสาระสำคัญของศาสนพิธี
                                4. แบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม  แล้วผู้สอนแจกใบความรู้ให้ผู้เรียนศึกษาเรื่อง
                                                4.1 การจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบหมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 7 และหมู่ 9
                                                4.2 การจุดธูปเทียน การจัดเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา
                                                4.3 คำอาราธนาต่างๆ
                                5. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติตามพิธีที่ศึกษามาข้างต้น กลุ่มละ 1 พิธี การเลือกพิธีสำหรับแสดงบทบาทสมมติให้ใช้วิธีจับฉลาก
ขั้นสรุป 6. ผู้สอนชี้แจงให้ผู้เรียนทราบถึงกฎกติกา วิธีการ และเวลาในการแสดงบทบาทสมมติ โดยให้แต่ละกลุ่มใช้เวลาประมาณ 20 นาที และให้กลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้แสดงเป็นผู้สังเกตการณ์ และวิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ โดยปฏิบัติดังนี้
                กลุ่มที่ 1 แสดงบทบาท                       กลุ่มที่ 2 วิพากษ์วิจารณ์
                กลุ่มที่ 2 แสดงบทบาท                       กลุ่มที่ 3 วิพากษ์วิจารณ์
                กลุ่มที่ 3 แสดงบทบาท                       กลุ่มที่ 4 วิพากษ์วิจารณ์
                กลุ่มที่ 4 แสดงบทบาท                       กลุ่มที่ 1 วิพากษ์วิจารณ์
                                7. ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนไปเตรียมตัวและเตรียมการต่าง ๆ เพื่อแสดงบทบาทสมมติตามพิธีที่เลือกในชั่วโมงต่อไป
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนไปเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา พิธีใดพิธีหนึ่งเมื่อมีโอกาสเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นและปฏิบัติจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ตรง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่10

เรื่อง       มรรยาทชาวพุทธเวลา 4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                ความเคารพคือ การไหว้ความนับถือ ความนับถือเป็นสิ่งสำคัญ หรือการมองเห็นคุณค่าและความสำคัญ แล้วปฏิบัติต่อบุคคลนั้นหรือสิ่งนั้น หรือสถานที่นั้น (แล้วแต่กรณี) ด้วยความเอาใจใส่ ความเอื้อเฟื้อ และความจริงใจ บางทีใช้คำว่า คารวะ

เนื้อหาสาระ
                1. มรรยาทชาวพุทธ
                                1.1การแต่งกาย การนำเด็กไปวัด
                                1.2 การปฏิบัติตนในเขตวัด
                                1.3 การเข้าพบพระภิกษุ
                                1.4 การแสดงความเคารพ
การบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3การแสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนาเวลา   2              ชั่วโมง
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์และนั่งสมาธิ 3-5 นาที ก่อนเรียน
                                2. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                                3. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้นผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนทราบ
                ขั้นสอน 4. ให้ผู้เรียนดู CAI สาระพระพุทธศาสนา เรื่อง มรรยาทชาวพุทธ
                                5. ให้ผู้เรียนสังเกตการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ของชาวพุทธในพิธีกรรมหรือกิจกรรมนั้น ๆว่าได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ในเรื่องใด ในกรณีปฏิบัติไม่ถูกต้องเหมาะสม จะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร
                                6. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มละ 4-6 คน ตามความสมัครใจ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการการแสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนาจากใบความรู้ที่แจกให้
                                7. ให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรม
ขั้นสรุป 8. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันเฉลยใบกิจกรรม และสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการแสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนาทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ
                                9. ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้เรื่อง การแต่งกาย การนำเด็กไปวัด การปฏิบัติตนในเขตวัด  เพื่อทำกิจกรรมในชั่วโมงต่อไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่11
เรื่อง สัมมนาพระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว               เวลา       4              ชั่วโมง
สาระสำคัญ
                การสัมมนาพระพุทธศาสนา เป็นการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องหนึ่ง โดยใช้หลักการ วิธีการ หรือกระบวนการทางพระพุทธศาสนา ผลของการสัมมนาสามารถนำไปเป็นแนวทางแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้

เนื้อหาสาระ
                พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว
กระบวนการจัดการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว         เวลา       2  ชั่วโมง
 ชั่วโมงที่ 1-3
                ขั้นนำ    1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยการนำผู้เรียนเรียนนอกห้องเรียน เช่น ใต้ร่มไม้
                                2. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                                3. ผู้สอนสนทนาพูดคุยกับผู้เรียนเกี่ยวกับการสัมมนาพระพุทธศาสนาในประเด็นต่าง ๆ เช่น
Ø สัมมนาพระพุทธศาสนาคืออะไร
Ø มีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องมีการสัมมนา
Ø การสัมมนาพระพุทธศาสนาจะก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแก่เราบ้าง
                                4.จากนั้นผู้สอนสรุปสนทนา เชื่อมโยงความรู้ไปสู่เนื้อหาเรื่อง พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว                    
                ขั้นสอน 5. ให้ผู้เรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน โดยใช้วิธีจับฉลาก หรือตามความสมัครใจ แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีประธาน รองประธาน และเลขานุการกลุ่ม
                                6. ให้แต่ละกลุ่มศึกษาหาความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว ทั้งจากหนังสือเรียน และจากสื่ออื่น ๆ
                               
                ขั้นสรุป 10. ผู้สอนจัดผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ซักถามและวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน 10 นาที โดยการจับคู่

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                ให้ผู้เรียนจัดสัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนาเป็นระยะ ๆ ในรูปของการสัมมนาย่อย เพื่อหาข้อสรุป ทางเลือก และทางออกต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม เป็นต้น