ศาสนพิธี


       ศาสนพิธี  หมายถึง  ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งกิจกรรมแต่ละอย่าง  ย่อมมีแนวทางกำหนดไว้  จนกลายเป็นแบบแผนและประเพณีสืบทอดกันมา
       ศาสนพิธีมีความสำคัญในฐานะที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของศาสนา  ๕  ประการ ได้แก่ ศาสดา  ศาสนธรรม  ศาสนบุคคล  ศาสนวัตถุสถาน  และเป็นส่วนสำคัญในการน้อมนำพุทธศาสนิกชนให้เกิดความเลื่อมใสและพร้อมใจที่ จะปฏิบัติตนตามหลักพิธีกรรม  และยังชักจูงให้อยากเรียนรู้หลักธรรมอันเป็นสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา  นอกจากนี้การได้เข้าร่วมศาสนพิธี  ยังมีส่วนทำให้จิตใจสดชื่นและผ่อนคลายความกังวลได้

  
ารจัดโต๊ะหมู่บูชา 
         การจัดโต๊ะหมู่บูชา  คือ  การจัดที่สำหรับบูชาเพื่อแสดงความเคารพพระรัตนตรัย  โดยการจัดสถานที่ให้เหมาะสม  และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการสงบกาย  วาจา  และใจ  เป็นเครื่องเตือนสติให้ทำความดี  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโต๊ะหมู่บูชาจัดทำกันใน  ๒ ลักษณะ  คือ  การจัดที่บูชาในงานศาสนพิธีและการจัดที่บูชาในบ้านหรือสถานที่ทำงาน  และสามารถจัดได้หลายแบบดังนี้
 ๑)  โต๊ะเดี่ยว  ประกอบด้วย  กระถางธูป  ๑  เชิงเทียน  ๒  แจกัน  ๒ 
 ๒)  โต๊ะหมู่  ๕  ประกอบด้วย  กระถางธูป  ๑  เชิงเทียน  ๖  (หรือ  ๘)    แจกัน  ๔  พานดอกไม้  ๕
 ๓)  โต๊ะหมู่  ๗  ประกอบด้วย  กระถางธูป  ๑  เชิงเทียน  ๘  (หรือ  ๑๐)    แจกัน  ๔  พานดอกไม้  ๕
 ๔)  โต๊ะหมู่  ๙  ประกอบด้วย  กระถางธูป  ๑  เชิงเทียน  ๑๐  (หรือ  ๑๒)    แจกัน  ๖  พานดอกไม้  ๗

การจุดธูปเทียน
การจุดธูปเทียนเป็นการเริ่มต้นประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เจ้าภาพควรเป็นผู้จุดธูปเทียนเอง หากได้เชิญให้บุคคลอื่นมาเป็นประธานในพิธี ควรเชิญให้ผู้เป็นประธานนั้นเป็นผู้จุด และการจุดธูปเทียน ให้จุดเทียนทางขวามือของพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงจุดเล่มทางซ้ายมือ เมื่อจุดเทียนแล้ว ให้จุดธูปเป็นลำดับต่อไป โดยรวมธูปทั้ง ๓ ดอกมาจุดต่อกับเทียนเล่มใดก็ได้ จากนั้นจึงปักธูปเรียงทีละดอก จากขวามือพระพุทธรูปไปทางซ้ายมือ ในกรณีที่มีผู้ส่งเทียนชนวน และปักธูปเรียงดอกชุบน้ำมันที่ปลายธูปไว้เรียบร้อยแล้ว ประธานจะใช้เทียนชนวนจุดเรียงดอกก็ได้

การจุดธูปเทียน
การจุดธูปเทียนบูชามีหลักในการจุดคือ ต้องจุดเทียนก่อนจุดธูป หากเทียนมี ๒ เล่ม และมีกระถางธูปอยู่ตรงกลาง ให้จุดเล่มที่อยู่ด้านซ้ามมือของผู้จุดก่อนแล้วจึงจุดเล่มขวามือ จากนั้นจึงจุดธูป ดังน

วิธีจุดแบบนี้ใช้ทั่วไปในการจุดบูชาพระพุทธรูปทั้งงานมงคลและงานอวมงคล และจุดบูชาพระธรรมในงานศพ โดยมีเทียน ๒ เล่ม รูป ๓ ดอก
ส่วน การบูชาศพนั้น จะใช้ธูปเพียง 1 ดอก และไม่ต้องจุดเทียนบูชา แต่ที่หน้าศพจะมีเทียนหรือตะเกียงจุดอยู่เพื่อความสะดวกในการจุดธูปบูชาศพ
อนึ่ง ในงานศพจะมีสถานที่ที่ต้องบูชา ๓ ที่คือ ที่โต๊ะหมู่ตั้งพระพุทธรูป ที่ตู้พระธรรม (ปกติจะตั้งอยู่ด้านหน้าของพระสงฆ์ที่สวดอภิธรรม) และที่บูชาศพ การจุดเครื่องบูชาทั้ง ๓ ที่ มี ๒ วิธี และมีความหมายต่างกัน คือ
วิธีที่ ๑ จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา ที่ตู้พระธรรม และที่ศพ หมายถึงผู้จุดเป็นผู้บูชาเองทั้ง ๓ แห่ง
วิธีที่ ๒ จุดธูปที่หน้าศพ จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา และที่ตู้พระธรรม หมายถึง ผู้จุดเชิญผู้ตายให้ทำความเคารพบูชาพระพุทธรูปและพระธรรม
เมื่อ จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา หรือที่ตู้พระธรรมให้กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แต่การจุดธูปบูชาศพเมื่อจุดแล้วจะต้องกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สำหรับศพพระ ภิกษุ หากเป็นศพฆราวาสให้กราบครั้งเดียวไม่แบมือ และผู้จุดเป็นพระภิกษุให้กราบศพ ๓ ครั้งสำหรับศพพระภิกษุ แต่ถ้าเป็นศพฆราวาสไม่ต้องจุดธูปเพียงแต่ยืนสำรวมจิตหน้าศพ ประมาณ ๑-๒ นาที
ผู้อยู่ร่วมพิธี จะต้องพนมมือทุกครั้งที่ประธานพิธีหรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปและพระธรรม

 

การอาราธนาศีล


การ อาราธนาศีล เป็นการกล่าวขอศีลแก่พระภิกษุ เพื่อตั้งจิตรักษาศีลของตนให้มีความบริสุทธิ์ งดเว้นจากการกระทำความชั่วทั้งปวง คำอาราธนาศีลและความหมายมีดังต่อไปนี้

คำอาราธนาศีล

คำแปล

มะยัง* ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณณะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ๕ ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมณ์ เพื่อประโยชน์แก่การรักษา
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณณะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ๕ ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมณ์ เพื่อประโยชน์แก่การรักษา แม้ครั้งที่สอง
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณณะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ๕ ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมณ์ เพื่อประโยชน์แก่การรักษา แม้ครั้งที่สาม
* ถ้ารับศีลคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ

คำอาราธนาพระปริตร


คำอาราธนาพระปริตร   เป็นบทที่สวดหลังจากสมาทานศีลเสร็จแล้ว เพื่อให้พระภิกษุสวดมนต์ที่มีเนื้อความเป็นสิริมงคลในงานทำบุญ ดังนี้

คำอาราธนาพระปริตร

คำแปล

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา สัพพะทุกขะ
วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา สัพพะภะยะ
วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา สัพพะโรคะ
วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวด
พระปริตรอันเป็นมงคล
เพื่อป้องกันความวิบัติทั้งปวง
เพื่อยังสมบัติทั้งปวงให้สำเร็จ เพื่อให้ทุกข์ภัย
โรคทั้งปวงพินาศไป

คำอาราธนาธรรม


การอาราธนาธรรม  คือคำขอให้พระภิกษุแสดงธรรม มีดังนี้

คำอาราธนาธรรม

คำแปล

พรัมมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันธีธะ
สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุธัมมัง
อะนุกัมปิมังปะชัง
ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก กราบทูลวิงวอน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลี คือ กิเลสในดวงตาเบาบางยังมีอยู่ในโลกนี้   ขอพระองค์ทรงแสดงธรรมอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้เถิด

 คำถาม
๑.   ศาสนพิธี หมายถึงอะไร?
๒. โต๊ะหมู่บูชามี  กี่ประเภท  อะไรบ้าง?
๓.  การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน ของหอม เราเรียกการบูชาประเภทนี้ว่าอะไร?


ที่มา    http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/budda/ceremony_4.html